การภาวนาเป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบาง หรือจนหมดกิเลส คือความโลภ โกรธ และหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า “มหัคคตกรรม” อันเป็น “มหัคคตกุศล”
1.สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือ การทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีการภาวนามี ๔๐ ประการ รวมเรียกว่า “กรรมฐาน ๔๐”
การเจริญภาวนาโดยใช้กรรมฐานชนิดใด ขึ้นอยู่กับจริตหรืออุปนิสัย และวาสนาบารมีของแต่ละคน ไม่ต้องใช้กรรมฐานทั้ง ๔๐ ชนิด
ศีล เป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิ ดังนั้น หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญญานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก
อานิสงส์ของสมาธินั้น มากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียมกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า
“แม้ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ รักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบ นานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู”
จิตสงบคือ จิตที่เป็นเพียงอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ จิตเป็นสมาธิ มีอยู่ ๓ ระดับคือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ (ฌาน)
สมธิระดับอัปปนาสมาธิ (หรือฌาน) มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น
- รูปฌาน ๑ ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๓
- อรูปฌานชั้นสูงสุด เรียกว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนะ” ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือ ชั้นที่ ๒๐ มีอายุยืนยาว ถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่า นิพพานพรหม
ดังนั้น การทำสมาธิ เป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด
แต่อย่างไรก็ตาม การทำสมาธิก็ยังได้บุญน้อยกว่าการเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา)
2.วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญหา)
วิปัสสนา ไม่ใช่การให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมย์เดียวนิ่งอยู่ (ซึ่งคือ สมาธิ) แต่เป็นจิตคิดใคร่ครวญ หาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ “ขันธ์ ๕” ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “รูป-นาม” โดยรูปมี ๑ ส่วน ส่วนนามนั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ขันธ์ ๕ เป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เป็นเพียงสังขารธรรม ที่เกิดเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าทันสภาวธรรม ซึ่งทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น ด้วยอำนาจอุปาทานว่า เป็นตัวเป็นตนและของตน
การเจริญวิปัสสนา ก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า สภาวธรรมทั้งหลาย อันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้น ล้วนมีอาการเป็น “พระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย
- อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง
- สรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
- สรรพสิ่งทั้งหลาย อันเนื่องมาจากการปรุงแต่งที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกัน เป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆ (“เซลล์”) เหล่านั้นมีการเจริญเติบโต และแตกสลายไป แล้วเกิดใหม่ขึ้นแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้เน่นอน
- ทุกขัง ได้แก่ “สภาพที่ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้”
- การทุกข์กายทุกข์ใจ เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขัง
- สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็น สังขารธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะทรงตัวตั้งมั่นทนทานอยู่ในสภาพนั้นๆ ได้ตลอดไป แต่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป
- แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรม อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัว
- อนัตตา ได้แก่ “ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ”
- โดยสรรพสิ่งทั้งหลาย อันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น “รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ” ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
- เช่นรูปขันธ์ เป็นธาตุ ๔ มาประชุมรวมกันคือ
ธาตุดิน (ส่วนที่เป็นของแข็ง) ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลว) ธาตุไฟ (สิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย) และธาตุลม (ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย)
- ธาตุทั้ง ๔ ได้มาประชุมรวมกันขึ้น เป็นรูปกายของคน สัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลง แล้วแตกสลาย ก็กลับคืนไปสู่สภาพเดิม (ดิน น้ำ ไฟ ลม) ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเรา ให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้
- สมาธิ มีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ โดยผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนึ่ง ตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตน
- วิปัสสนา มีเพียงอย่างเดียวคือ ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์หรือมีแต่รูป-นามเท่านั้น ได้แก่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ซึ่งเป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรม อันเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เทียง ทนอยู่สภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด
- อารมณ์ของวิปัสสนา เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผล สังขารธรรมทั้งหลาย จนรู้แจ้งเห็นจริงว่า เป็นพระไตรลักษณ์คือ
อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
และเมื่อได้จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เรียกว่าจิตเข้าสู่กระแสธรรม ตัดกิเลสได้
- สมาธิและวิปัสสนา จึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกัน และอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้น โดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของ ขณิกสมาธิ เป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม
สมาธิเป็นเพียงบันไดขั้นต้น ขณะที่วิปัสสนาภาวนาเป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมี
พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า
“ผู้ใดแม้จะทำสมาธิ จนจิตเป็นฌาณได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นตามความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงช่วงขณะจิตเดียวก็ตาม”
“ผู้ใดมีปัญญา พิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่าร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหู้ขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนยาวถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความจริงดังกล่าว”
การเจริญสมถะ และวิปัสสนาอย่างง่ายๆ ประจำวัน
พระพุทธองค์ตรัสว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาประจำวัน จนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่นไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด
“จิตของผู้นั้น ไม่ห่างจากวิปัสสนา และเป็นผู้ไม่ห่างจากมรรคผลนิพพาน” คือ
- มีจิตใคร่ครวญถึง มรณัสสติกรรมฐาน หรือมรณานุสสติกรรมฐาน
คือ การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ การระลึกถึงความตายเป็นการเตือนสติตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง
พระพุทธองค์ตรัสว่า
“มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด”
มรณัสสติกรรมฐาน (สมถะภาวนา) (พุทธิจริต) |
พิจารณาสรรพสิ่งทั้งหลายเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา |
เป็นวิปัสสนาภาวนา |
วันมหาปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสปัจฉิมโอวาท ที่เรียกกันว่า “อัปปมาทธรรม”
“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตภาคตขอเตือนทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”
1 | มรณัสสติกรรมฐาน (สมถะภาวนา) |
2 | ใคร่ครวญถึงความตาย เป็นอารมณ์ |
3 | สมถะภาวนา (พุทธิจริต) |
4 | พิจารณาสรรพสิ่งทั้งหลาย โดยเฉพาะขันธ์ ๕ เป็นพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) |
5 | วิปัสสนาภาวนา |
2.มีจิตใคร่ครวญถึง อสุภกรรมฐาน
1 | อสุภกรรมฐาน (สมถภาวนา) |
2 | จิตพิจารณาให้เห็น ตามความจริง |
3 | ร่างกายของคนและสัตว์ เป็นสิ่งที่ไม่สวยไม่งาม |
4 | สมถภาวนา |
5 | พิจารณาร่างกายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา |
6 | วิปัสสนาภาวนา |
3.มีจิตใคร่ครวญถึง กายคตานุสสติกรรมฐาน
กายคตานุสสติกรรมฐาน
พิจารณาร่างกาย ให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง พิจารณาร่วมกับ อสุภกรรมฐาน และ มรณัสสติกรรมฐาน
กายนี้เป็นบ่อเกิดของความโลภ ความโกรธ ความหลง เพราะความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน
หลักในการพิจารณาเป็นดังนี้
สรุป : กายคตานุสสติกรรมฐาน
4.มีจิตใคร่ครวญถึง ธาตุกรรมฐาน
1 | ธาตุกรรมฐาน (สมถภาวนา) |
2 | พิจารณาตามความเป็นจริงของร่างกาย |
3 | เป็นเพียงธาตุ ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) |
4 | มาประชุมรวมกันเพียงชั่วคราว เรียกว่าร่างกาย |
5 | หลักพระไตรลักษณ์ : อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา |
6 | หลักพระไตรลักษณ์ : อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา |
7 | กลับไปสู่ธาตุเดิมคือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ |
8 | ไม่สามารถนำสิ่งใดติดตัวไปได้ โดยเฉพาะโลกธรรม ๘ (ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์) |
9 | คลายความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ |
10 | วิปัสสนาภาวนา |