พอเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุพอสมควรแล้ว พระราชบิดาจึง ทรงส่งไปศึกษาศิลปวิทยาที่สำนักครูที่มีชื่อว่า 'วิศวามิตร' เจ้าชายทรง ศึกษาการใช้อาวุธ และการปกครองได้ว่องไวจนสิ้นความรู้ของอาจารย์
ภาพที่เห็นนี้ เป็นตอนเจ้าชายสิทธุตถะทรงมีพระชนมายุได้ ๑๖ ปีแล้ว และทรงศึกษาศิลปวิทยาจบแล้ว พระราชบิดาจึงตรัสสั่งให้สร้างปราสาท ๓ ฤดู เป็นจำนวน ๓ หลัง ให้ประทับเป็นที่สำราญพระทัย ปราสาทหลังที่ หนึ่งเหมาะสำหรับประทับในฤดูหนาว หลังที่สองสำหรับฤดูร้อน ทั้งสอง หลังนี้จะมีอะไรเป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิไม่ทราบได้ และหลังที่สาม สำหรับประทับในฤดูฝน หลังจากนั้น พระราชบิดาได้ทรงแจ้งไปยังพระ ญาติวงศ์ทั้งสอง คือฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดา ให้จัดส่งพระราช ธิดามาเพื่อคัดเลือกสตรีผู้สมควรจะอภิเษกสมรสกับเจ้าชาย ทั้งนี้เพราะ พระราชบิดาทรงต้องการจะผูกมัดพระราชโอรสให้เสด็จอยู่ครองราชสมบัติมากกว่าที่จะให้เสด็จออกทรงผนวช แต่พระญาติวงศ์ทั้งปวงเห็นว่า ควร จะให้เจ้าชายได้แสดงความสามารถในศิลปศาสตร์ที่ทรงเล่าเรียนมาให้เป็นที่ประจักษ์แก่หมู่พระญาติก่อน พระราชบิดาจึงอัญเชิญพระญาติวงศ์มา ประชุมกันที่หน้าพระมณฑปที่ปลูกสร้างขึ้นใหม่ ณ ใจกลางเมืองเพื่อชม เจ้าชายแสดงการยิงธนู
ธนูที่เจ้าชายยิงมีชื่อว่า 'สหัสถามธนู' แปลว่า ธนูที่มีน้ำหนักขนาดที่ คนจำนวนหนึ่งพันคนจึงจะยกขึ้นได้ แต่เจ้าชายทรงยกธนูนั้นขึ้นได้ ปฐม สมโพธิให้คำอุปมาว่า 'ดังสตรีอันยกขึ้นซึ่งไม้กงดีดฝ้าย' บรรดาพระญาติวงศ์ทั้งปวงได้เห็นแล้วต่างชื่นชมยิ่งนัก แล้วเจ้าชายทรงลองดีดสายธนูก่อนยิง เสียงสายธนูดังกระหึ่มครึ้มคราวไปทั้งกรุงกบิลพัสดุ์ จนคนทั้งเมืองที่ไม่รู้และไม่ได้มาชมเจ้าชายยิงธนู ต่างถามกันว่านั่นเสียงอะไร เป้าที่เจ้าชายยิงธนูวันนั้น คือ ขนหางทรายจามรีที่วาง ไว้ในระยะหนึ่งโยชน์ ปรากฏว่าเจ้าชายทรงยิงถูกขาดตรงกลางพอดี ทั้งนี้ท่านว่า 'ด้วยพระเนตรอันผ่องใสพร้อมด้วยประสาททั้ง ๕ อันบริสุทธิ์อันปราศจากมลทิน' พระญาติวงศ์ทั้งปวง จึงยอมถวายพระราชธิดา ซึ่งมีนางพิมพายโสธรารวมอยู่ด้วย เพื่อคัดเลือกเป็น พระชายา
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250