“ทรมาน” มาจาก ทมน = การข่ม, การฝึก “ทรมานอุบาลีอุบาสก” อุบาลี เป็นคหบดี ผู้มั่งคั่ง เทียบสมัยนี้ ก็เศรษฐีพันล้าน มี คฤหาสน์สามหลัง สามฤดูเชียวแหละครับ (อาจมากกว่านั้นก็ได้) อุบาลีเป็นสาวกคน สำคัญของศาสดามหาวีระ หรือที่ชาวพุทธ เรียก “นิครนถ์นาฏบุตร” ท่านมหาวีระถือ เคร่งครัดไม่นุ่งห่มจีวร นุ่งลมห่มฟ้า ตามคติ “อัตตกิลมถานุโยค” (ประกอบเนืองๆ ซึ่งการทรมานกาย) เป็นศาสดาศาสนาเชน (หรือ ไชนะ) อุบาลีไปหา พระพุทธเจ้า โต้วาทะกันนานพอสมควร เรื่องที่โต้กันเกี่ยวกับ “หลัก กรรม” (ซึ่งทางเชนใช้ศัพท์ว่า ทัณฑ์) อุบาลียืนยันว่า กายทัณฑ์ (กรรมทางกาย) สำคัญกว่า มโนทัณฑ์ (กรรมทางใจ) พระพุทธองค์ ตรัสว่า มโนกรรมสำคัญกว่า ในที่สุดอุบาลียอมจำนนด้วยเหตุผล จึง ประกาศละทิ้งศาสนาเดิม ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
อุบาลีอุบาสก เป็นคนมีความรู้ เมื่อมาเป็นพุทธศาสนิกชนแล้ว ก็ได้ นำความรู้ของตนมารับใช้งานพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีตลอดอายุ ของท่าน
ข้อที่พึงสังเกตก็คือ พระพุทธเจ้ามิได้เป็น “ศาสดากระหายสาวก” คนมีชื่อเสียงขนาดอุบาลีมานับถือ ถ้าเป็นอาจารย์อื่นก็รีบรับแล้ว แต่พระองค์ตรัสเตือนให้คิดให้ดีก่อนจะทำอะไร นี้คือ spirit ที่น่า ภูมิใจของพระพุทธศาสนา
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250