นึกถึงเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งขึ้นมาได้ น่าจะมีคนเขียนภาพพระจริยาวัตรปางนี้ ไว้เป็นที่ระลึก นั่นคือเมื่อครั้งพระพุทธ องค์ เสด็จไปทรงพยาบาลภิกษุไข้ด้วย พระหัตถ์ของพระองค์เองเลย ภิกษุหนุ่ม ส่งกระแสจิตพิจารณาตามกระแสพระ ธรรมเทศนา เมื่อจบพระพุทธภาษิตก็ได้ บรรลุพระอรหัต พร้อมกับดับจิตในขณะ นั้นพอดี ท่านได้เป็นพระอรหันต์ประเภท ที่เรียกว่า สมสีสี (คือสิ้นกิเลสพร้อมกับ สิ้นชีวิต) พระคาถาที่ตรัสสอนภิกษุหนุ่ม รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ชาวพุทธเพราะนำเอามาเป็น คาถาสำหรับพระสวดบังสุกุลเป็นอีกด้วย
บังสุกุลคืออะไร บังสุกุลเป็น คืออะไร ต่างจากบังสุกุลตายอย่างไร เป็นคำถามขึ้นมาเชียว ส่วนมากเมื่อพูดถึงบังสุกุล (ชาวบ้านเรียก “บังสุกุล”) แปลว่า “ผ้าคลุกฝุ่น” คือ สมัยที่ยังไม่มีพุทธานุญาตให้ พระภิกษุรับผ้าสำเร็จรูปจากชาวบ้าน พระท่านต้องแสวงหาเศษที่ ชาวบ้านเขาทิ้งแล้วตามป่าช้าบ้าง ตามที่ต่างๆ บ้าง มาทำจีวร ผ้า ที่พระท่านได้มาจึงเรียก ว่าผ้าคลุกฝุ่น กิริยาอาการนั้นจึงเรียกกันว่า “ชักผ้าบังสุกุล” มาจนบัดนี้
คาถาว่า “อะจิรัง วะตะยัง กาโย” นั้น นำเอาใช้สวดให้คนเป็น คือ คนที่ป่วยหนักฟังเพี่อพิจารณาดังกรณีพระพุทธเจ้าตรัสให้พระภิกษุ ผู้ป่วยด้วยโรคพุพองฟังนั้นแล ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า “บังสุกุลเป็น”
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250