นางอัมพปาลีไม่รู้เป็นลูกใคร นายอุทยานบาล (ผู้เฝ้าสวน) พบเห็น นั่งอยู่ใต้ต้นมะม่วง ในอุทยานแห่งหนึ่ง นำไปเลี้ยงไว้ โตมาก็มีความ สวยงามหยาดฟ้ามาดิน ใครเห็นก็หลงใหลใฝ่ฝัน ชื่อว่า “อัมพปาลี” ว่ากันว่ากษัตริย์ลิจฉวีหนุ่มๆ ทั้งรุ่นกระทงและรุ่นแก่ ต่างหลงใหล นางถึงขั้นยื้อแย่งกัน เพื่อเป็นเจ้าของครอบครอง เหล่ากษัตริย์ลิจฉวี เห็นว่า จะเป็นเหตุให้แตกสามัคคีกัน จึงแต่งตั้งนางให้เป็น “สมบัติ กลาง” เสียโดยให้ดำรงตำแหน่ง “นางนครโสเภณี” ทีนี้ใครใคร่ อภิรมย์กับนางก็เชิญ มีเงินทองมีความประสงค์ก็ไปหานางได้ตาม สบาย
เมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองไพศาลี ในช่วงสุดท้ายแห่ง พระชนมายุ นางอัมพปาลีไปเฝ้าพระพุทธองค์ อาราธนาพร้อมภิกษุ สงฆ์ไปเสวยภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน ในวันรุ่งขึ้นพระพุทธองค์ พร้อมภิกษุสงฆ์เสด็จไปยังคฤหาสน์ของนาง เสวยภัตตาหารแล้ว ทรงแสดงธรรมให้นางฟัง นางได้มอบถวายสวนมะม่วงของนางให้ เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ เรียกว่า“อัมพปาลีวัน” ทำนองเดียวกับเวฬุวัน ที่พระเจ้าพิมพิสารถวายนั้นแล
ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิต ได้ฟังธรรมจากพระลูกชาย (พระวิมลโกณ- ฑัญญะ) ได้ออกบวชเป็นภิกษุณี พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแท้แห่ง สรีระร่างกายของตนเห็นประจักษ์ถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้บรรลุ พระอรหัตในที่สุด
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250