การศึกษาพระครูพิศิษฐ์อสารสาสน์ประชาอุทิศตำแหน่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. 2445 จนมรณภาพเป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย ใน พ.ศ. 2500 เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว วัดนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านไว้ในโลงแก้วผลงานที่สำคัญงานด้านศาสนาพระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ผลงานสำคัญ ดังเช่นสร้างวัด พระครูพิศิษฐ์อรรถการ ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง เมื่อ พ.ศ. 2445 จนมรณภาพ แต่เมื่อ พ.ศ 2500 ท่านยังได้เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อยอีกด้วย เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ชาวบ้านได้สร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพระครูพิศิษฐ์อรรถการ และสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุทั้งหมด การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. 2513 และแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส พระครูพิศิษฐ์อรรถการมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ..ศ. 2513 รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ในสัตตมวาร หรือพระเจดีย์น้อยวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบันพระครูพิศิษฐ์อรรถการเห็นความสำคัญของปูชนียสถาน จึงได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ วัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. 2490พ.ศ. 2500 ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอนจึงสร้างวัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถการามสร้างพระเจดีย์ พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสารพ่อท่านคล้ายได้รับนิมนต์เพื่อไปช่วยเหลือวัดกลางเก่า(บ้านดอน) อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี ที่ถูกไฟไหม้เป็นเวลา ๔ วัน ๔ คืน เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๖ และได้นำรูปกระจกมาแจกเพื่อให้ญาติโยมได้ทำบุญช่วยเหลือวัดกลาง มีข้อความระบุบนรูปกระจกว่า “ให้เป็นที่ระลึกในการช่วยเหลือวัดกลาง ๓๐ ตุลาคม ๒๔๙๘” สมัยนั้นหากพ่อท่านมีกิจนิมนต์ในละแวก อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี พ่อท่านมักจะมาจำวัดที่วัดกลางเก่า(บ้านดอน) โดยในสมัยนั้นที่วัดกลางเก่า(บ้านดอน)มีเจ้าอธิการพระมหายุตต์ ธมฺมวิริโย เป็นเจ้าอาวาสและเป็นสหธรรมิกกับพ่อท่านคล้าย ซึ่งต่อมาท่านได้สร้างพระเครื่องและพ่อท่านคล้ายได้มาร่วมทำการปลุกเสกด้วย อีกทั้งพ่อท่านได้เคยมาปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่วัดกลางเก่า(บ้านดอน) ซึ่งปัจจุบันยังคงปรากฏให้เห็นอยู่
งานด้านพัฒนาท้องถิ่น
พระครูพิศิษฐ์อรรถการ จัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ได้เดินทางไปพัฒนาในที่ต่าง ๆ มากมาย สร้างถนน สะพานมากมาย ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน ดังเช่น
สร้างถนนเข้าวัดจันดี
ถนนจากตำบลละอายไปพิปูน
ถนนจากวัดสวนขันไปยังสถานีรถไฟคลองจันดี
ถนนจากตำบลละอายไปนาแว
ถนนระหว่างหมู่บ้านในตำบลละอาย
สะพานข้ามคลองคุดด้วนเข้าวัดสวนขัน
สะพานข้ามแม่น้ำตาปีจากตลาดทานพอไปนาแว
สะพานข้ามคลองเสหลา หน้าวัดมะปรางงาม
สะพานข้ามคลองจันดี เป็นต้น
ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์
ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพระครูพิศิษฐ์อรรถการได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พระครูพิศิษฐ์อรรถการจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน “ขอให้เป็นสุข เป็นสุข” ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย
ความวาจาสิทธิ์ ของท่าน
มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ไป จังหวัดชุมพร ท่านต้องขึ้นรถไฟที่สถานีคลองจันดี สมัยนั้นยังเป็นรถไฟหัวจักรไอน้ำ ท่านลืมสังฆาฎิที่บ้านญาติโยมในตลาดจันดี พอดีรถไฟที่ท่านจะต้องขึ้นกำลังเปิดหวู้ดจะออก ท่านบอกให้เด็กวัดที่ไปกับท่านไปเอาสังฆาฏิ ที่บ้านญาติโยม ในตลาดจันดี เด็กที่ไปกับท่านบอกว่า ไม่ทันแล้วพระครูพิศิษฐ์อรรถการ รถจะออกแล้ว พอท่านกล่าวว่า ไปตะ รถไฟมันรอ สิ้นคำพระครูพิศิษฐ์อรรถการรถไฟออก แต่ออกไปไม่ได้ รถล้อฟรี นี้คือความวาจาสิทธิ์ของท่าน
มีอยู่คราหนึ่ง มีโจรเข้ามาขโมยโกร่ง (ตู้รับบริจาค) ในวัดธาตุน้อยและมีคนมาบอกพระครูพิศิษฐ์อรรถการ พระครูพิศิษฐ์อรรถการกล่าวว่า ไซรมั่นเหล่า เดี่ยวก็เอามาคืนปรากฏว่าโจรนำออกไปนอกวัดไม่ได้เลยเดินวนเวียนหลายหน เห็นรอบวัดมีแต่น้ำไปหมด
คนที่ไปนมัสการหวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพระครูพิศิษฐ์อรรถการก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด
มรณภาพ
พ่อท่านคล้ายหรือพระครูพิศิษฐ์อรรถการ เมื่อครั้นถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2513 ตรงกับแรม 9 ค่ำ เดือน12 ปีจอ พ่อท่านจะต้องเดินทางไปจังหวัดสุรินทร์ เนื่องในงานพุทธาภิเษกที่คณะพุทธบริษัท จังหวัดนั้นนิมนต์ใว้ เวลา 16.00 น. ของวันเดินทาง คณะศิษย์เป็นว่าพ่อท่านอาพาธกะทันหัน จึงนิมนต์พ่อท่านขึ้นรถด่วนเข้ากรุงเทพ ถึงวันรุ่งขึ้นได้นำพ่อท่านเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฎในวันนั้น แพทยืได้พยายามรักษาจนเต็มความสามารถ เป็นเวลา 14 วัน อาการมีแต่ทรงกับทรุด ครั้งถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2513 เวลา 23.05 น. พ่อท่านคล้าย มรณภาพด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน