Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ (หลวงปู่แว่น ธนปาโล)

zSpecial

พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ (หลวงปู่แว่น ธนปาโล)

พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ (หลวงปู่แว่น ธนปาโล)

หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตโต อีกองค์หนึ่งที่เรียบร้อยงดงามเสมอต้นเสมอปลายตลอดที่ท่านดำรงตนอยู่ในสมณเพศท่านอยู่ด้วยสันโดษมักน้อยและเรียบง่ายหนักแน่นในธุดงควัตร ชอบอยู่ในที่สงบสงัด ของป่าเขาลำเนาไพร เพื่อปลีกตัวหาความวิเวกในการเจริญภาวนา ด้วยปฏิปทาเครื่องดำเนินที่เคร่งครัดลออในด้านพระธรรมวินัยที่ถูกต้องแม่นยำและงดงาม บนเส้นทางธรรมของหลวงปู่ที่ผ่านมานี้ จึงทำให้กิตติศัพท์ของท่านฟุ้งขจรไปทั่วทุกสารทิศ ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ ความเชื่อถึอและความเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างไกล จวบจนทุกวันนี้

ชาติภูมี หลวงปู่แว่น ธนปาโล เกิดในสกุลทุมกิจจะ บิดาชื่อนายวันดี มารดานางอำไพ และในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ อายุ ๑๘ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรกับพระอุปัชฌาย์ ชื่อพระอาจารย์สีทอง พันธุโล สังกัดมหานิกาย ๑ พรรษา ที่วัดศรีรัตนาราม แล้วติดตามออกรุดงค์ไปกับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ไปยังสำนักสงฆ์โคกป่าเหล่างา จังหวัดขอนแก่น เพื่อนฝึกหัดปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่สิงห์ ขนตยาคโม

พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้แปรญตติเป็นสามเณร สังกัดธรรมยุตินิกาย โดยมีหลวงปู่สิงห์ ขนตยาคโม เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๗๒ ณ วัดศรีจันทราวาส ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น และกลับไปจำพรรษากับหลวงปู่สิงห์และหลวงปู่สิม ที่เสนาสนะป่าช้าบ้านโคกเหล่องา (วัดป่าวิเวกรรม) อ.เมือง จ.ขอนแก่น

พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่ออายุ ๒๑ ปี หลวงปู่สิมไปพาหลวงปู่แว่นกลับมาเกณฑ์ทหารที่บ้านเกิดและอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๔ ณ พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม อำเภอเมือง จังหวัด นครพนมโดยมี พระสารกาณมุนี (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เจ้าคณะจังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า “ธนปาโล” แปลว่า ผู้รักษาทรัพย์ และได้มาจำพรรษากับหลวงปู่เกิ่ง อธิมตตโก วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นเวลา ๔ พรรษา

หลวงปู่แว่น ได้รับคำแนะนำหลักการปฏิบัติกรรมฐานเพิ่มขึ้นจาก หลวงปู่เสาร์ กนตสีโล , หลวงปู่มั่น ภูริทตโต และท่านพ่อลี ธมมธโร เป็นลำดับ หลวงปู่ได้ออกปฏิบัติธรรมเร่งความเพียรโดยไม่ท้อถอย ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ (พรรษาที่ ๑๓) ท่านได้พบหลวงปู่มั่น ภูริทตโต ที่วัดป่าวารินทร์ (วัดแสนสำราญ) อำเภอรินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานีในปี พ.ศ.๒๔๘๙ หลวงปู่แว่น ได้เดินทางไปบำเพ็ญภาวนากับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ที่วัดป่าบ้านกาด อำเภอสันกำแพง (วัดโรงธรรมสมัคคี) จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นหลวงปู่แว่นได้เดินธุดงค์ไป อำเภอจอมทอง และได้จำพรรษาที่ถ้ำพระธรรม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ หลวงปู่แว่นพำนักอยู่ที่สำนักสงฆ์โรงธรรมสามัคคีกับหลวงปู่สิม ชาวอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ได้ไปนิมนต์ท่านให้มาพำนักอยู่ที่วัดโนงน้ำตาล (วัดป่าสำญนิวาส) และท่านได้อยู่จำ พรรษาถึง ๕ พรรษา คณะศรัทธาญาติโยมเลื่อมใสมารับการอบรมวิปัสสนากรรมฐานเป็นจำนวนมาก และหลวงปู่แว่นเป็นผู้จุดประกายให้มีวัดป่าวงศ์ธรรมยุติที่เป็นวัดปฏิบัติธรรมเกิดขึ้นในจังหวัดลำปางต่อมาในพ.ศ.๒๔๙๒ หลวงปู่ได้รับข่าวการรณภาพของท่านพระอาจารย์มั่น หลวงปู่คิดจะเดินทาง ไปเคารพศพของท่านพระอาจารย์มั่นที่จังหวัดสกลนครบังเอิญหลวงปู่สิมได้แวะมาเยี่ยมหลวงปู่ในช่วงนั้น ได้กล่าวทัดทานไว้โดยให้ข้อคิดว่า “ท่านพระอาจารย์มั่นของเรา ท่านมิได้ปรารถนาให้เดินทางไปเคารพศพท่านแต่ท่านพระอาจารย์มั่นประสงค์ให้ลูกศิษย์ลูกหาตั้งหน้าตั้งตาประพฤติบัติรักษาจิตใจให้มั่นคง”หลวงปู่แว่นจำไม่ได้เดินทางไปยังวัดป่าสุทธาวาส

 

แต่มุ่งมั่นในการปฏิบัติภาวนาเพื่อค้นหาสังธรรมให้ยิ่งยวดขึ้นไป ตามแนวทางที่ได้รับการอบรมธรรมมาจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริตตเถระวันหนึ่งหลวงปู่ได้นิมิตเห็นดอยลูกหนึ่ง คล้ายรูปทรงเจดีย์ อยู่ไม่ไกลจากวัดสำราญนิวาส ท่านจึงออกสำรวจ และพบเจอสถานที่ตรงตามนิมิต ซึ่งชาวบ้านเรียกดอยน้ำขุม และมีถ้ำหลายถ้ำ แต่มีถ้ำใหญ่ถ้ำหนึ่งที่อากาศปลอดโปร่งเย็นสบาย ชาวบ้านเรียก ถ้ำแกเก๊า (นกเค้า) มาเยี่ยมสถานที่แห่งนี้หลวงปู่สิม จึงตั้งชื่อใหม่ “ถ้ำพระสบาย”

ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือธรรมประวัติ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ หน้าเลขที่ ๔๕๕-๔๖๘ ได้กล่าวถึงการสร้างเจดีย์ในถ้ำพระสบายไว้ดังนี้ พระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เคยเล่าที่มาอดีตชาติของบูรพาอาจารย์หลายองค์ที่มีความเกี่ยวข้องกันมีดังนี้ อาจารย์แว่น เคยเป็นเจ้าครองเมืองลำปางหลวงมีเมียต้น คือแม่จำปา (ปัจจุบันชาติเป็นโยมอุปัฏฐานที่ร่วมกันสร้างเจดีย์ในถ้ำพระสบาย)และได้มีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ อาจารย์สิม พุทธาจาโร และอาจารย์หลวง กตปุญโญ ต่อมาได้เมียคนที่ ๒ คือ แม่ศรีอรุณ (ปัจจุบันชาติเป็นโยมอุปัฏฐากที่ร่วมกันสร้างเจดีย์ในถ้ำพนะสบาย) ซึ่งได้อาจารย์จามและอาจารย์น้อยเป็นลูก ครั้งหนึ่งแม่ศรีอรุณ ในอดีตชาติได้ขอพรให้ลูกชายได้ขึ้นครองราชย์แต่ไม่สำเร็จลูกทั้งสองจึงพาแม่ศรีอรุณหนีมาอยู่ที่ถ้ำพระสบาย ตั้งกลุ่มเป็นโจร โดยมีอาจารย์ตื้อเป็นขุนพลโจรใหญ่ มีบริวารถึง ๓,๕๐๐ คน ได้ปล้นคนรวยนำทรัพย์สินไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ทั้งทุกสารทิศ จนในที่สุดได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองเมื่อผู้เป็นพ่อ (อาจารย์แว่น) เสียชีวิตลงและได้ขึ้นครองราชย์ ส่วนอาจารย์สิมได้หนีไปบวชที่ถ้ำเชียงดาวในปัจจุบัน และได้บำรุงปัจจัยสี่ ให้อาจารย์ หลวงไปบวชอยู่ภูเขาขนาดย่อมๆ ลูกหนึ่ง ใกล้เวียงลำปาง

ในปีพ.ศ.๒๔๙๗ หลวงปู่แว่นกลับไปจำพรรษาที่วัดสันติสังฆารามวัดที่บ้านเกิด และเป็นวัดที่โยมมารดาได้ถวายที่ดินเพื่อนสร้างวัดให้หลวงปู่สิม พุทธาจาโร อยู่จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๒ โยมมารดาถึงแก่กรรม แล้วจึงธุดงค์ไปที่อื่น และแวะมาภาวนาที่ถ้ำพระสบาย ชาวคณะบ้านบัวได้มานิมนต์ให้กลับไปจำพรรษาที่ วัดสันติสังฆาราม ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๐ หลวงปู่แว่นได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครและดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเเภอ หลวงปู่แว่นได้จำพรรษา ณ วัดป่าสุทธาวาสนานถึง ๑๓ พรรษา และท่านก็ได้ดูแลควบคุมการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์บริขารหลวงปู่มั่น ภูริทตโต หลังจากนั้น ท่านจึงลาออกจากเจ้าคณะอำเภอและเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส และกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านเกิดอีก ๑ พรรษา

ปี พ.ศ.๒๕๒๓ (พรรษาที่ ๕๐) หลวงปู่จึงกลับมาจำพรรษาและพัฒนาถ้ำพระสบาย บ้านหนองถ้อย ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จนเจริญรุ่งเรืองสืบมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๕ หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและการปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนา หลวงปู่ได้อบรมพร่ำสอนพระภิกษุ สามเณร อุบาสก-อุบาสิกา มิได้ขาดจวบจนวาระที่ท่านละสังขาร เมื่อวันอังคาร ที่ ๘ เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ สิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี ๘ เดือก ๖๘ พรรษา

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post