Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

พระแม่ธรณี

๓๔

พระแม่ธรณี

พระแม่ธรณี ในความเชื่อของของมนุษย์เกือบทุกมุมโลกแล้วมักมีความเชื่อที่คล้ายๆ กันเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับเทพเจ้าผู้ปกครองหรือให้กำเนิดพื้นดินหรือโลกที่เราอยู่อาศัยกันนี้ โดยคนไทยเราจะมักเรียกกันว่า พระแม่ธรณีบ้าง พระภูมิเทวีบ้าง พระแม่ปฐวีบ้างซึ่งพระแม่ธรณีนั้นก็มีปรากฏอยู่ในเทพปกรณัมของเกือบทุกอารยธรรมของโลก อาทิเช่น พระแม่ปฐวี (PRITHVI) ของศาสนาพราหมณ์, พระแม่ไกอา (GAIA) ของกรีก, เทวีนูท (NUT) ของอียิปต์ เป็นต้น

ยังความได้ว่าอารยธรรมโบราณทั่วทั้งโลกนั้นให้ความนับถือพระแม่ธรณีกันเป็นอย่างมาก ด้วยเชื่อว่าพื้นดินนั้นแบกรับภาระคอยค้ำจุนสรรพชีวิตทั้งปวงบนโลกไว้ เป็นดั่งมารดาผู้หล่อเลี้ยงอุ้มชูบุตร จึงมักพบว่าพระธรณีนั้นส่วนมากจะได้รับการยกย่องเทิดทูนไว้ในรูปสตรีหรือพระเทวีนั่นเอง

แล้วในอารยธรรมจีนนั้นก็มีพระแม่ธรณีเช่นกัน ซึ่งมีหลายตำนานมากจนบางครั้งก็ทำให้อาจสับสนว่าพระแม่ธรณีนั้นเป็นองค์ใดบ้าง เพราะประเทศจีนนั้นเป็นอีกหนึ่งในอารยธรรมใหญ่ของโลก เมื่อกล่าวถึงเรื่องเทพปกรณัมแล้วก็ย่อมมีหลากหลายองค์เช่นกัน ยกตัวอย่างอย่างในดิน

แดนชมพูทวีป ในคัมภีร์พระเวทโบราณนั้นก็กล่าวถึงบรรพบุรุษของเทพเจ้าไว้ 2 องค์ คือ สวรรค์กับพื้นดิน

โดยสวรรค์นั้นในคัมภีร์พระเวทโบราณจะกล่าวพระนามของพระองค์ว่า “โทยาษปิตฤ หรือ เทยาษปิตฤ” ซึ่งได้รับการพรรณาไว้ว่า พระองค์นั้นเป็นท้องฟ้าอันกว้างไกล คอยอำนวยเม็ดฝนและความอุดมสมบูรณ์ให้แก่มวลมนุษย์ ทรงมีพระวรกายเป็นบุรุษ มีเศียรเป็นวัวตัวผู้ในเวลากลางวัน มีเศียรเป็นม้าในเวลากลางคืน

ส่วนพื้นโลกในคัมภีร์พระเวทโบราณก็จะกล่าวพระนามของพระองค์ว่า “ปฤถวีมาตฤ” ซึ่งก็ได้รับการพรรณาไว้เช่นกันว่าทรงเป็นพื้นปฐพีอันกว้างใหญ่ คอยรองรับเม็ดฝนแล้วผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหาร คอยโอบอุ้มเลี้ยงดูสรรพชีวิต ทรงมีพระวรกายเป็นสตรี มีเศียรเป็นม้า บ้างก็ว่าเป็นวัวตัวเมีย

ต่อมาในยุคหลังก็ว่าพระแม่ธรณีมีร่างเป็นวัว มีเศียรเป็นสตรีบ้าง แล้วต่อมาก็เปลี่ยนกลายไปเป็นพระอุมาเทวีบ้าง พระลักษมีเทวีบ้าง ก็มีในยุคหลังๆ ในอารยธรรมจีนก็เช่นกัน บ้างก็กล่าว่าพระแม่ธรณีนั้นคือเจ้าแม่ “หนี่วา” ในภาษาจีนกลาง ส่วนในภาษาจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า “นึ่งออ” ซึ่งมีกล่าวไว้ในวรรณกรรมเรื่องไคเภ็กและวรรณกรรมเรื่องห้องสิน โดยกล่าวกันว่าเจ้าแม่หนี่วานั้นเป็นเทวีผู้สร้างทุกสรรพสิ่งบนโลก โดยเฉพาะการสร้างมนุษย์และสัตว์

เรื่องในตำนานเล่าว่าในปฐมกาลเมื่อโลกได้กำเนิดขึ้น จักรวาลนั้นยุ่งเหยิงปนเปกันหมด (ประมาณว่ามีไอน้ำหรือเมฆเคลื่อนอยู่ติดกับพื้นดิน) แล้วกาลต่อมาท้องฟ้า (สวรรค์) จึงค่อยๆ แยกออกจากพื้นดินอย่างชัดเจน

แล้วในสมัยนั้นโลกทั้งใบยังว่างเปล่าจากสรรพชีวิตอยู่ เจ้าแม่หนี่วาได้ทรงรำพึงว่าตนนั้นช่างเหงาเหลือเกิน จึงนำก้อนดินมาปั้นเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ขึ้น แล้วให้ชีวิตแก่ก้อนดินรูปสัตว์นั้น แต่พระองค์ก็ยังไม่คลายเหงา จึงนำก้อนดินมาปั้นอีกครั้งเป็นรูปมนุษย์ที่มีแขนมีขา มีหูมีตามีปากมีจมูก ดังนั้นจึงถือว่าเจ้าแม่หนี่วานั้นเป็นพระเทวีผู้ให้กำเนิดสรรพชีวิตบนโลก โดยในวรรณกรรมจีนกล่าวถึงลักษณะของพระองค์ไว้ว่า ทรงเป็นเทพนารีที่

มีลำตัวท่อนบนเป็นสตรี มีลำตัวท่อนล่างเป็นงู มีสิริโฉมงดงาม พระพักตร์ขาวนวล พระโอษฐ์แดง

ตามตำนานได้เล่าไว้อีกว่าครั้งหนึ่งเจ้าแม่หนี่วาได้ทรงปกป้องโลกมนุษย์ไว้ ในคราวที่เทพเจ้าแห่งไฟและเทพเจ้าแห่งน้ำได้เกิดการสัปยุทธ์กัน แล้วเทพเจ้าแห่งน้ำได้พ่ายแพ้จนรู้สึกอับอาย เลยเอาเศียรโขกไปที่ภูเขาซึ่งค้ำจุนท้องฟ้าอยู่จนภูเขานั้นพังทลาย อันทำให้โลกของเรานั้นเอียงแล้วเกิดความปั่นป่วนไปทั่ว เกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ เหล่าปิศาจได้อาศัยรอยแตกของภูเขาค้ำสวรรค์ออกมาอาละวาดทำให้มวลมนุษย์ต้องเดือดร้อนและเกิดภัยพิบัติไปทั่ว เจ้าแม่หนี่วาทรงเห็นเช่นนั้นจึงรีบตัดขาของเต่ายักษ์ทั้ง 4 ข้างมาค้ำสวรรค์ไว้แทน อีกทั้งทรงนำศิลา 7 สีมาหลอมอุดรูรั่วปิดกั้นมิให้เหล่าปิศาจออกมาอาละวาดได้อีก แต่สิ่งหนึ่งที่เจ้าแม่หนี่วาทรงทำไม่ได้ก็คือ การทำให้โลกกลับมาตั้งตรงดั่งเดิม จึงทำให้แกนโลกของเรายังคงเอียงเหมือนดั่งในทุกวันนี้

จากในเทพปกรณัมนี้จึงถือว่าเจ้าแม่หนี่วานั้นทรงเป็นดั่งพระแม่ธรณี ผู้ให้กำเนิดสรรพชีวิตบนโลก อีกทั้งยังเป็นผู้คอยค้ำจุนอุ้มชูหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตบนโลกอีกด้วย

ส่วนเทพปกรณัมเรื่องเกี่ยวกับพระแม่ธรณีของอารยธรรมจีนนั้นก็ยังมีอีก โดยกล่าวว่าพระแม่ธรณีนั้นทรงมีพระนามในภาษาจีนกลางว่า “ตี้มู่เหนียงเหนียง (地母娘娘)” หรือ “ตี่บ้อเนี้ยเนี้ย”

โดยคำว่า “จะหมายถึง พื้นดิน, โลก, ปฐพี, ธาตุ คำว่า “จะหมายถึง มารดาผู้ให้กำเนิด, คำที่ใช้เรียกสตรีผู้สูงศักดิ์, สิ่งที่ให้กำเนิดสิ่งต่างๆ ส่วนคำว่า “จะหมายถึง เจ้าแม่และยังเป็นคำโบราณที่ใช้เรียกพระราชินีหรือนางสนมเอกด้วย

ดังนั้นคำว่า “ตี่บ้อเนี้ยเนี้ย” จึงหมายถึง เจ้าแม่ผู้ให้กำเนิดโลกนั่นเอง บ้างครั้งคำว่า “เนี้ย ()” ที่ต่อท้ายอาจจะใช้คำว่า “ซิ้ง ()” ที่หมายถึงเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แทนก็มี

ประวัติขององค์ตี่บ้อเนี้ยเนี้ยนั้นมีน้อยมาก เห็นจะกล่าวไว้แต่ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดและคอยคุ้มครองเลี้ยงดูสรรพชีวิตบนโลก เป็น

จักรพรรดินีแห่งโลกมนุษย์ มีศักดิ์เสมอกับจักรพรรดิแห่งสวรรค์หรือองค์เง็กเซียนฮ่องเต้เลยทีเดียว

เทวลักษณะขององค์เจ้าแม่ตี่บ้อเนี้ยเนี้ยนั้น กล่าวไว้ว่า ทรงปรากฏพระองค์ในรูปเทพนารี ทรงสวมมงกุฎบ้าง ไม่สวมมงกุฎบ้าง อาภรณ์นั้นมักปรากฏในชุดของสตรีสูงศักดิ์ มักมีรูปใบไม้ปรากฏร่วมในอาภรณ์ที่ทรงสวมใส่ด้วย ในพระหัตถ์ข้างหนึ่งทรงถือยันต์แปดทิศ อีกพระหัตถ์หนึ่งทรงถือแส้จามรีหรือไม้เท้าก็มี ประทับบนดอกบัวหรือโลก

 

เนื่องจากพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ยังสรรพสัตว์ให้เจริญเติบโต ทรงเป็นผู้ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์ จึงมักเรียกพระองค์ในอีกพระนามหนึ่งซึ่งเป็นภาษาไทยว่า “เจ้าแม่โพสพ” ก็มี

ซึ่งก็จะไปเหมือนกับเรื่องของพระแม่ธรณีของชาวอินเดีย ที่ต่อมาได้ยกตำแหน่งไปให้กับพระลักษมีเทวี เพราะพระลักษมีเทวีนั้นมีปางหนึ่งที่มีชื่อว่า “ธัญลักษมี” อันเป็นเทวีแห่งธัญพืชและความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นพระลักษมีเทวีจึงได้ถูกขนานนามอีกพระนามหนึ่งว่า “พระภูมิเทวี” หรือมารดาแห่งโลกนั่นเอง

 

แหล่งที่มา : Facebook เทพเจ้าจีน

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post