ภาเวตัพพธรรม
ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ ภาวนา (ธรรมอันพึงเจริญหรือพึงปฏิบัติบำเพ็ญ, สิ่งที่จะต้องปฏิบัติหรือลงมือทำ ได้แก่ ธรรมที่เป็นมรรค โดยเฉพาะสมถะ และวิปัสสนา กล่าวคือ ประดาธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติหรือเป็นวิธีการที่จะทำหรือดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดหมายแห่งการสลายทุกข์หรือดับปัญหา - Bhàvetabba-dhamma: things to be developed, i.e. tranquillity and insight, or, in other words, the Noble Eightfold Path)
M.III.289; S.V.52; A.II.246. |
ม.อุ.14/829/524; สํ.ม.19/291–5/78;องฺ.จตุกฺก.21/254/333. |
- ปัจจัยแห่งสัมมาทิฎฐิ 2
- บุพนิมิตแห่งมรรค 7
- พุทธโอวาท 3
- ไตรสิกขา, สิกขา 3
- บุญกิริยาวัตถุ 3
- บุญกิริยาวัตถุ 10
- ภาวนา 2
- ภาวนา 4
- มรรคมีองค์ 8
- กุศลกรรมบท 10
- โพธิปักขิยธรรม 37
ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 (ทางเกิดแห่งแนวความคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของปัญญาและความดีงามทั้งปวง - Sammàdiññhi-paccaya: sources or conditions for the arising of right view)
- ปรโตโฆสะ (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ — Saupàdisesa-nibbàna: Nibbàna with the substratum of life remaining)
- โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย - Yonisomanasikàra: reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)
ข้อธรรม 2 อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ [1] และ [2] นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ 1 ในที่นี้ใช้คำกว้างๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา
M.I.294; A.I.87. |
ม.มู.12/497/539; องฺ.ทุก. 20/371/110. |
บุพนิมิตแห่งมรรค 7 (ธรรมที่เป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าว่า มรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐจะเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ดุจแสงอรุณเป็นบุพนิมิตของการที่ดวงอาทิตย์จะอุทัย, แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดี, รุ่งอรุณของการศึกษา - Magguppàda-pubbanimitta: a foregoing sign for the arising of the Noble Eightfold Path; precursor of the Noble Path; harbinger of a good life or of the life of learning)
- กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร, มีมิตรดี, คบหาคนที่เป็นแหล่งแห่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี - Kalyàõamittatà: good company; having a good friend; association with a good and wise person)
- สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล, การทำศีลให้ถึงพร้อม, ตั้งตนอยู่ในวินัยและมีความประพฤติทั่วไปดีงาม - Sãla-sampadà: perfection of morality; accomplishment in discipline and moral conduct)
- ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ, การทำฉันทะให้ถึงพร้อม, ความใฝ่ใจอยากจะทำกิจหน้าที่และสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ดีงาม, ความใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ - Chanda-sampadà: perfection of aspiration; accomplishment in constructive desire)
- อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยตนที่ฝึกดีแล้ว, การทำตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของผู้ที่พัฒนาแล้วโดยสมบูรณ์ ทั้งด้านกาย ศีล จิต และปัญญา [ที่จะเป็น ภาวิตัตต์ คือผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้ว] - Atta-sampadà: perfection of oneself; acomplishment in self that has been well trained; dedicating oneself to training for the realization of one’s full human potential; self-actualization)
- ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ, การทำทิฏฐิให้ถึงพร้อม, การตั้งอยู่ในหลักความคิดความเชื่อถือที่ถูกต้องดีงามมีเหตุผล เช่น ถือหลักความเป็นไปตามเหตุปัจจัย - Diññhisampadà: perfection of view; accomplishment in view; to be established in good and reasoned principles of thought and belief)
- อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท, การทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม - Appamàda-sampadà: perfection of heedfulness; accomplishment in diligence)
- โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ, การทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม, ความฉลาดคิดแยบคายให้เห็นความจริงและหาประโยชน์ได้ - Yonisomanasikàrasampadà: perfection of wise reflection; accomplishment in systematic attention)
เมื่อใดธรรมที่เป็นบุพนิมิต 7 ประการนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดมีในบุคคลแล้ว เมื่อนั้นย่อมเป็นอันหวังได้ว่าเขาจักเจริญ พัฒนา ทำให้มาก ซึ่งมรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ คือจักดำเนินก้าวไปในมัชฌิมาปฏิปทา.
ข้อธรรม 2 อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ [1] และ [2] นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ 1 ในที่นี้ใช้คำกว้างๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา
S.V.30–31. |
สํ.ม.19/130–6/36. |
พุทธโอวาท 3 (ประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ 3 ข้อ — Buddha-ovàda: the Three Admonitions or Exhortations of the Buddha)
- สพฺพปาปสฺส อกรณํ (ไม่ทำความชั่วทั้งปวง - Sabbapàpassa akaraõa§: not to do any evil)
- กุสลสฺสูปสมฺปทา (ทำแต่ความดี - Kusalassåpasampadà: to do good; to cultivate good)
- สจิตฺตปริโยทปนํ (ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ - Sacittapariyodapana§: to purify the mind)
หลัก 3 ข้อนี้ รวมอยู่ใน โอวาทปาฏิโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญ เดือน 3 ที่บัดนี้เรียกว่า วันมาฆบูชา
D.II.49; Dh.183. |
ที.ม.10/54/57; ขุ.ธ.25/24/39. |
สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน - Sikkhà: the Threefold Learning; the Threefold Training)
- อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง - Adhisãla-sikkhà: training in higher morality)
- อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่น สมาธิอย่างสูง - Adhicitta-sikkhà: training in higher mentality)
- อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง - Adhipa¤¤à-sikkhà: training in higher wisdom)
เรียกง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา (morality, concentration and wisdom)
D.III.220; A.I.229. |
ที.ปา.11/228/231; องฺ.ติก.20/521/294. |
บุญกิริยาวัตถุ 3 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี - Pu¤¤akiriyà-vatthu: bases of meritorious action; grounds for accomplishing merit)
- ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ - Dànamaya pu¤¤akiriyà-vatthu: meritorious action consisting in giving or generosity)
- สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย - Sãlamaya ~: meritorious action consisting in observing the precepts or moral behaviour)
- ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจเจริญปัญญา - Bhàvanàmaya ~: meritorious action consisting in mental development)
D.III.218; A.IV.239; It.51. |
ที.ปา.11/228/230; องฺ.อฏฺฐก.23/126/245; ขุ.อิติ.25/238/270. |
บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี - Pu¤¤akiriyà-vatthu: bases of meritorious action)
- ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ - Dànamaya: meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)
- สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี - Sãlamaya: by observing the precepts or moral behaviour)
- ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจเจริญปัญญา - Bhàvanàmaya ~: by mental development)
- อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม - Apacàyanamaya: by humility or reverence)
- เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ - Veyyàvaccamaya: by rendering services)
- ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น - Pattidànamaya: by sharing or giving out merit)
- ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น - Pattànumodanàmaya: by rejoicing in others’ merit)
- ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ - Dhammassavanamaya: by listening to the Doctrine or right teaching)
- ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ - Dhammadesanàmaya: by teaching the Doctrine or showing truth)
- ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง - Diññhujukamma: by straightening one’s views or forming correct views)
ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย; 6 และ 7 ในทานมัย; 8 และ 9 ในภาวนามัย; ข้อ 10 ได้ ทั้งทาน ศีล และภาวนา
D.A.III.999; Comp.146. |
ที.อ.3/246; สังคหะ 29. |
ภาวนา 2 (การเจริญ, การทำให้เกิดให้มีขึ้น, การฝึกอบรมจิตใจ - Bhàvanà: mental development)
- สมถภาวนา (การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ, การฝึกสมาธิ - Samatha-bhàvanà: tranquillity development)
- วิปัสสนาภาวนา (การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง, การเจริญปัญญา - Vipassanà-bhàvanà: insight development)
สองอย่างนี้ ในบาลีที่มาท่านเรียกว่า ภาเวตัพพธรรม และ วิชชาภาคิยธรรม. ในคัมภีร์สมัยหลัง บางทีเรียกว่า กรรมฐาน (อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งงานเจริญภาวนา, ที่ตั้งแห่งงานทำความเพียรฝึกอบรมจิต, วิธีฝึกอบรมจิต - Kammaññhàna: stations of mental exercises; mental exercise; สงฺคห. 51; Comp. 202)
D.III.273; A.I.60. |
ที.ปา.11/379/290; องฺ.ทุก.20/275/77. |
ภาวนา 4 (การเจริญ, การทำให้เป็นให้มีขึ้น, การฝึกอบรม, การพัฒนา - Bhàvanà:growth; cultivation; training; development)
- กายภาวนา (การเจริญกาย, พัฒนากาย, การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ, การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ - Kàya-bhàvanà: physical development)
- สีลภาวนา (การเจริญศีล, พัฒนาความประพฤติ, การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน - Sãlabhàvanà: moral development)
- จิตตภาวนา (การเจริญจิต, พัฒนาจิต, การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา มีฉันทะ ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่นเบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น - Citta-bhàvanà: cultivation of the heart; emotional development)
- ปัญญาภาวนา (การเจริญปัญญา, พัฒนาปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา - Pa¤¤à-bhàvanà: cultivation of wisdom; intellectual development; wisdom development)
ในบาลีที่มา ท่านแสดงภาวนา 4 นี้ ในรูปที่เป็นคุณบทของบุคคล จึงเป็น ภาวิต 4 คือ ภาวิตกายภาวิตศีล ภาวิตจิต ภาวิตปัญญา (ผู้ได้เจริญกาย ศีล จิต และปัญญาแล้ว) บุคคลที่มีคุณสมบัติชุดนี้ครบถ้วนย่อมเป็นพระอรหันต์
A.III.106. |
องฺ.ปญฺจก. 22/79/121 |
มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์แปดประการ อันประเสริฐ” - Aññhaïgika-magga: the Noble Eightfold Path); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
- สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและ อกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท - Sammàdiññhi: Right View; Right Understanding)
- สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์ - Sammàsaïkappa: Right Thought)
- สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 - Sammàvàcà: Right Speech)
- สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 - Sammàkammanta: Right Action)
- สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ - Sammà-àjãva: Right Livelihood)
- สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 - Sammàvàyàma: Right Effort)
- สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 - Sammàsati: Right Mindfulness)
- สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 - Sammàsamàdhi: Right Concentration)
องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ ข้อ 3, 4, 5 เป็น ศีล ข้อ 6, 7, 8 เป็นสมาธิ ข้อ 1, 2 เป็น ปัญญา
มรรคมีองค์ 8 นี้ เป็นอริยสัจจ์ ข้อที่ 4 และได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า “ทางสายกลาง” เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค
D.II.312; M.I.61; M.III.251; Vbh.235. |
ที.ม.10/299/348; ม.มู.12/149/123; ม.อุ.14/704/453; อภิ.วิ.35/569/307. |
กุศลกรรมบถ 101 (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ - Kusala-kammapatha: wholesome course of action) ว่าโดยหัวข้อย่อ ดังนี้
ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย - Kàyakamma: bodily action)
- ปาณาติปาตา เวรมณี* (เว้นจากปลงชีวิต - Pàõàtipàtà veramaõã: abstention from killing)
- อทินฺนาทานา เวรมณี (เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้โดยอาการขโมย - Adinnàdànà ~: abstention from taking what is not given)
- กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี (เว้นจากประพฤติผิดในกาม - Kàmesumicchàcàrà ~: abstention from sexual misconduct)
ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา - Vacãkamma: verbal action)
- มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากพูดเท็จ - Musàvàdà ~: abstention from false speech)
- ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เว้นจากพูดส่อเสียด - Pisuõàya vàcàya ~: abstention from tale-bearing)
- ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เว้นจากพูดคำหยาบ - Pharusàya vàcàya ~: abstention from harsh speech)
- สมฺผปฺปลาปา เวรมณี (เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ - Samphappalàpà ~: abstention from vain talk or gossip)
ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ - Manokamma: mental action)
- อนภิชฺฌา (ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา - Anabhijjhà: non-covetousness)
- อพฺยาปาท (ความไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น - Abyàpàda: non-illwill)
- สมฺมาทิฏฺฐิ (ความเห็นชอบ ถูกต้องตามคลองธรรม - Sammàdiññhi: right view)
1* เวรมณี แปลว่า “เจตนาที่ทำให้เว้น” หรือ “เจตนาที่ตรงข้าม” เมื่อจะแปลให้เต็มความ จึงควรแปลว่า “การกระทำที่ว่างจากการคิดเบียดเบียน” หรือ “การทำดีที่ตรงข้ามกับการเบียดเบียนชีวิต” ดังนี้เป็นต้น
D.III.269,290. |
ที.ปา.11/360/284; 471/337. |
กุศลกรรมบถ 10 (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ - Kusala-kammapatha: wholesome course of action) ว่าโดยข้อธรรมสมบูรณ์ (แปลตัดเอาแต่ใจความ) ดังนี้
ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย - bodily action)
- ปาณาติปาตํ ปหาย ฯเปฯ สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี โหติ (ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน - to avoid the destruction of life and be anxious for the welfare of all lives)
- อทินฺนาทานํ ปหาย ฯเปฯ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อนาทาตา โหติ (ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น - to avoid stealing, not violating the right to private property of others)
- กาเมสุมิจฺฉาจารํ ปหาย ฯเปฯ น จาริตฺตํ อาปชฺชิตา โหติ (ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ - to avoid sexual misconduct, not transgressing sex morals)
ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา - verbal action)
- มุสาวาทํ ปหาย ฯเปฯ น สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ (ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จ เพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ - to avoid lying, not knowingly speaking a lie for the sake of any advantage)
- ปิสุณํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ สมคฺคกรณึ วาจํ ภาสิตา โหติ (ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี - to avoid malicious speech, unite the discordant, encourage the united and utter speech that makes for harmony)
- ผรุสํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ พหุชนมนาปา ตถารูปึ วาจํ ภาสิตา โหติ (ละคำหยาบ พูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน - to avoid harsh language and speak gentle, loving, courteous, dear and agreeable words)
- สมฺผปฺปลาปํ ปหาย ฯเปฯ กาลวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที นิธานวตึวาจํ ภาสิตา โหติ ฯเปฯ (ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง มีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาลเทศะ - to avoid frivolous talk; to speak at the right time, in accordance with facts, what is useful, moderate and full of sense)
ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ - mental action)
- อนภิชฺฌาลุ โหติ ฯเปฯ (ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น - to be without covetousness)
- อพฺยาปนฺนจิตฺโต โหติ ฯเปฯ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ (ไม่มีจิตคิดร้าย คิดปรารถนา แต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตนอยู่เป็นสุขเถิด - to be free from ill-will, thinking, ‘Oh, that these beings were free from hatred and ill- will, and would lead a happy life free from trouble.’)
- สมฺมาทิฏฺฐิโก โหติ ฯเปฯ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ (มีความเห็นชอบ เช่น ว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น - to possess right view such as that gifts, donations and offerings are not fruitless and that there are results of wholesome and unwholesome actions)
กุศลกรรมบถหมวดนี้ ในบาลีเรียกชื่อหลายอย่าง เช่นว่า ธรรมจริยา (ความประพฤติธรรม - righteous conduct) บ้าง โสไจย (ความสะอาดหรือเครื่องชำระตัว - cleansing) บ้าง อริยธรรม (อารยธรรม, ธรรมของผู้เจริญ - virtues of a noble or civilized man) บ้าง อริยมรรค (มรรคาอันประเสริฐ - the noble path) บ้าง สัทธรรม (ธรรมดี, ธรรมแท้ - good law; true law) บ้าง สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ - qualities of a good man) บ้าง ฯลฯ
M.I.287; A.V.266,275–278 |
ม.มู.12/485/523; องฺ.ทสก.24/165/287; 168–181/296–300. |
โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค - Bodhipakkhiya-dhamma: virtues partaking of enlightenment; qualities contributing to or constituting enlightenment; enlightenment states)
- สติปัฏฐาน 4
- สัมมัปปธาน 4
- อิทธิบาท 4
- อินทรีย์ 5
- พละ 5
- โพชฌงค์ 7
- มรรคมีองค์ 8
โพธิปักขิยธรรมนี้ ตามที่ทั่วไปในพระไตรปิฎก ตรัสไว้เพียงเป็นคำรวมๆ โดยไม่ได้ระบุชื่อองค์ธรรม นอกจากในสังยุตตนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก ที่มีพุทธพจน์ตรัสระบุไว้ว่า ได้แก่ อินทรีย์ 5 (สํ.ม.19/1024/301; 1041–3/305; 1071–1081/313–5) และในคัมภีร์วิภังค์แห่งพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งไขความว่า โพธิปักขิยธรรม ได้แก่ โพชฌงค์ 7 (อภิ.วิ.35/611/336)
ธรรมชุดนี้ เมื่อตรัสระบุชื่อทั้งชุดในพระสูตร ทรงเรียกว่าเป็น อภิญญาเทสิตธรรม เช่น ที.ม.10/107/141; ที.ปา.11/108/140; ม.อุ. 14/54/51) คือเป็นอภิญญาเทสิตธรรม 37 และในพระอภิธรรม ท่านแสดงไว้ว่าธรรม 37 ประการนี้เป็น สัทธรรม
นอกจากนี้ ธรรม 37 ประการชุดนี้ยังได้ชื่อว่าเป็น สันติบท คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อการบรรลุสันติ (รวมทั้งเป็น อมตบท และ นิพพานบท เป็นต้น - ขุ.ม.29/701/414; ขุ.จู.30/391/188) และเป็น เสรีธรรม หรือ ธรรมเสรี (ขุ.จู.30/681/340; 684/342)
ในพระวินัยปิฎก ท่านแสดงธรรม 37 ประการนี้ไว้เป็นคำจำกัดความของคำว่า มรรคภาวนา (ดู วินย.1/236/175; 2/308/212)
ต่อมา ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา รวมถึงวิสุทธิมัคค์ จึงระบุและแจกแจงไว้ชัดเจนว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ได้แก่ธรรมเหล่านี้ (ดู องฺ.อ.1/77; อิติ.อ.287; ปฏิสํ.อ.2/95, 196, 261; วิสุทฺธิ.3/328)
สติปัฏฐาน 4 (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน - Satipaññhàna: foundations of mindfulness)
- กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - Kàyànupassanà-~ : contemplation of the body; mindfulness as regards the body) ท่านจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ 1 อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ 1 สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง 1 ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ 1 ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ 1 นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น 1
- เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - Vedanànupassanà-~ : contemplation of feelings; mindfulness as regards feelings) คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
- จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - Cittànupassanà-~ : contemplation of mind; mindfulness as regards mental conditions) คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
- ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - Dhammànupassanà-~ : contemplation of mindobjects; mindfulness as regards ideas) คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจจ์ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ.
D.II.290–315; M.I.55–63. |
ที.ม.10/273–300/325–351; ม.มู.12/131–152/103–127. |
ปธาน 4 (ความเพียร - Padhàna: effort; exertion)
- สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น - Sa§vara-padhàna: the effort to prevent; effort to avoid)
- ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว - Pahàna-padhàna: the effort to abandon; effort to overcome)
- ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น - Bhàvanà-padhàna: the effort to develop)
- อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ - Anurakkhanà-padhàna: the effort to maintain) ปธาน 4 นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปปธาน 4 (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่ - Sammappadhàna: right exertions; great or perfect efforts)
A.II.74,16,15. |
องฺ.จตุกฺก.21/69/96; 14/20; 13/19. |
อิทธิบาท 4 (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย - Iddhipàda: path of accomplishment; basis for success)
- ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป - Chanda: will; zeal; aspiration)
- วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ท้อถอย - Viriya: energy; effort; exertion; perseverance)
- จิตตะ (ความคิดมุ่งไป คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ - Citta: thoughtfulness; active thought; dedication)
- วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - Vãma§sà: investigation; examination; reasoning; testing)
D.III.221; Vbh.216. |
ที.ปา.11/231/233; อภิ.วิ.35/505/292. |
อินทรีย์ 5 (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน - Indriya: controlling faculty)
- สัทธา (ความเชื่อ - Saddhà: confidence)
- วิริยะ (ความเพียร - Viriya: energy; effort)
- สติ (ความระลึกได้ - Sati: mindfulness)
- สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น - Samàdhi: concentration)
- ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด - Pa¤¤à: wisdom; understanding)
หมวดธรรมนี้เรียกอย่างหนึ่งว่า พละ 5 ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลัง ทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ ส่วนที่เรียกว่าอินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ
S.V.191–204; 235–237; Ps.II.1–29. |
สํ.ม.19/843–900/256–271; 1061–1069/310–312; ขุ.ปฏิ.31/423–463/300–344. |
อินทรีย์ 5 (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน - Indriya: controlling faculty)
- สัทธา (ความเชื่อ - Saddhà: confidence)
- วิริยะ (ความเพียร - Viriya: energy; effort)
- สติ (ความระลึกได้ - Sati: mindfulness)
- สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น - Samàdhi: concentration)
- ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด - Pa¤¤à: wisdom; understanding)
หมวดธรรมนี้เรียกอย่างหนึ่งว่า พละ 5 ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลัง ทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ ส่วนที่เรียกว่าอินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ
S.V.191–204; 235–237; Ps.II.1–29. |
สํ.ม.19/843–900/256–271; 1061–1069/310–312; ขุ.ปฏิ.31/423–463/300–344. |
พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง - Bala: power)
องค์ธรรม 5 อย่างในหมวดนี้ มีชื่อตรงกับ อินทรีย์ 5 จึงขอให้ดูที่ [258] อินทรีย์ 5
พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง
D.III.239; A.III.10; Vbh.342. |
ที.ปา.11/300/252; องฺ.ปญฺจก.22/13/11; อภิ.วิ.35/844/462. |
โพชฌงค์ 7 (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ - Bojjhaïga: enlightenment factors)
- สติ (ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง - Sati: mindfulness)
- ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่องสืบค้นธรรม - Dhammavicaya: truth investigation)
- วิริยะ (ความเพียร - Viriya: effort; energy)
- ปีติ (ความอิ่มใจ - Pãti: zest; rapture)
- ปัสสัทธิ (ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ - Passaddhi: tranquillity; calmness)
- สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์ - Samàdhi: concentration)
- อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง - Upekkhà: equanimity)
แต่ละข้อเรียกเต็ม มี สัมโพชฌงค์ ต่อท้ายเป็น สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น.
D.III.251,282; Vbh.277. |
ที.ปา.11/327/264; 434/310; อภิ.วิ.35/542/306. |