สัจฉิกาตัพพธรรม
ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ 3 คือ สัจฉิกิริยา (ธรรมอันพึงประจักษ์แจ้ง, สิ่งที่ควรได้ควรถึงหรือควรบรรลุ ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ เมื่อกล่าวโดยรวบยอดคือ นิโรธ หรือนิพพาน หมายถึงธรรมจำพวกที่เป็นจุดหมาย หรือเป็นที่ดับหายสิ้นไปแห่งทุกข์หรือปัญหา — Sacchikàtabba-dhamma: things to be realized, i.e. true knowledge and freedom or liberation)
- นิพพาน 2
- วิมุตติ 2
- สุข 21
- สุข 22
- อัตถะ 31
- อัตถะ 32
- มรรค 4
- ผล 4
- โลกุตตรธรรม 9
นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ — Nibbàna: Nirvàõa; Nibbàna)
- สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ — Saupàdisesa-nibbàna: Nibbàna with the substratum of life remaining)
- อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ — Anupàdisesa-nibbàna: Nibbàna without any substratum of life remaining)
หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
- = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ (= กิเลสปรินิพพาน — Kilesa-parinibbàna: extinction of the defilements)
- = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ (= ขันธปรินิพพาน — Khandha-parinibbàna: extinction of the Aggregates) หรือ
- = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
- = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว
It.38. |
ขุ.อิติ.25/222/258. |
อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า
- สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
- อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ
A.IV.379. |
องฺ.นวก.23/216/394. |
[43] วิมุตติ 2 (ความหลุดพ้น — Vimutti: deliverance; liberation; freedom)
- เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ — Cetovimutti: deliverance of mind; liberation by concentration)
- ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง — Pa¤¤àvimutti: deliverance through insight; liberation through wisdom)
A.I.60. |
องฺ.ทุก.20/276/78. |
สุข 21 (ความสุข — Sukha: pleasure; happiness)
- กายิกสุข (สุขทางกาย — Kàyika-sukha: bodily happiness)
- เจตสิกสุข (สุขทางใจ — Cetasika-sukha: mental happiness)
A.I.80. |
องฺ.ทุก.20/315/101. |
สุข 22 (ความสุข — Sukha: pleasure; happiness)
- สามิสสุข (สุขอิงอามิส, สุขอาศัยเหยื่อล่อ, สุขจากวัตถุคือกามคุณ — Sàmisa-sukha: carnal or sensual happiness)
- นิรามิสสุข (สุขไม่อิงอามิส, สุขไม่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ, สุขปลอดโปร่งเพราะใจสงบหรือได้รู้แจ้งตามเป็นจริง — Niràmisa-sukha: happiness independent of material things or sensual desires; spiritual happiness)
A.I.80. |
องฺ.ทุก.20/313/101. |
อัตถะ หรือ อรรถ 31 (ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย, จุดหมาย, ความหมาย — Attha: benefit; advantage; welfare; aim; goal; meaning)
- ทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในโลกนี้, ประโยชน์ขั้นต้น — Diññhadhammikattha: benefits obtainable here and now; the good to be won in this life; temporal welfare)
- สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป — Samparàyikattha: the good to be won in the life to come; spiritual welfare)
- ปรมัตถะ (ประโยชน์สูงสุด, จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน — Paramattha: the highest good; final goal, i.e. Nibbàna)
อัตถะ 3 หมวดนี้ ในพระสูตรทั่วไปมักแสดงเฉพาะข้อ 1 และข้อ 2 โดยให้ข้อ 2 มีความหมายครอบคลุมถึงข้อ 3 ด้วย (เช่น ขุ.อิติ.25/201/242; อธิบายใน อิติ.อ.92) บางแห่งก็กล่าวถึงปรมัตถะไว้ต่างหากโดยเฉพาะ (เช่น ขุ.สุ.25/296/338; 313/366; ขุ.อป.33/165/343)
ดู [144] ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4, [191] สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 ด้วย.
Nd1169, 178, 357; Nd226. |
ขุ.ม.29/292/205; 320/217; 727/432; ขุ.จู.30/673/333. |
อัตถะ หรือ อรรถ 32 (ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย — Attha: benefit; advantage; gain; welfare)
- อัตตัตถะ (ประโยชน์ตน — Attattha: gain for oneself; one’s own welfare)
- ปรัตถะ (ประโยชน์ผู้อื่น — Parattha: gain for others; others’ welfare)
- อุภยัตถะ (ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย — Ubhayattha: gain both for oneself and for others; welfare both of oneself and of all others)
S.II.29; S.V.121–5; A.I.9; A.III.64; Nd1168; Nd226. |
สํ.นิ.16/67/35; สํ.ม.19/603/167; องฺ.ทุก.20/46/10; องฺ.ปญฺจก.22/51/72 |
มรรค 4 (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด — Magga: the path)
- โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส — Sotàpattimagga: the Path of Stream-Entry)
- สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง — Sakadàgàmi-magga: the Path of Once-Returning)
- อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง 5 — Anàgàmi-magga: the Path of Non-Returning)
- อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10 — Arahatta-magga: the Path of Arahantship)
ดู [329] สังโยชน์ 101.
Vbh.335. |
อภิ.วิ.35/837/453. |
ผล 4 (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ — Phala: fruition)
- โสดาปัตติผล (ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย — Sotàpatti-phala: the Fruition of Stream-Entry)
- สกทาคามิผล (ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย — Sakadàgàmi-phala: the Fruition of Once-Returning)
- อนาคามิผล (ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย — Anàgàmi-phala: the Fruition of Non- Returning)
- อรหัตตผล (ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย — Arahatta-phala: the Fruition of Arahantship)
ผล 4 นี้ บางที่เรียกว่า สามัญญผล (ผลของความเป็นสมณะ, ผลแห่งการบำเพ็ญสมณธรรม — Sàma¤¤a-phala: fruits of a monk’s life; fruits of the monkhood)
D.III.227; Vbh.335. |
ที.ปา.11/242/240; อภิ.วิ.35/837/453. |
โลกุตตรธรรม 9 (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก — Lokuttaradhamma: supermundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม 37 = 46: ขุ.ปฏิ.31/620/535; Ps.II.166)
มรรค 4 (Magga: the Four Paths)
ผล 4 (Phala: the Four Fruitions)
นิพพาน หรือ อสังขตธาตุ 1 (Nibbàna: the Unconditioned State)
ดู [27] นิพพาน 2; [164] มรรค 4; [165] ผล 4.
Dhs.1094. |
อภิ.สํ.34/706/278; 911/355. |