Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ 

zSpecial

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ 

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ 

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เป็นบุตรของ นายกา ผิวขำ กับ นางมะแง้ ผิวขำ เมื่อกำเนิดมาบิดา-มารดาได้ตั้งชื่อว่า เด็กชายจาม ผิวขำ เกิดวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ที่บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันคือ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร) ในปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ช่วงก่อนเสด็จสวรรคต (23 ตุลาคม 2453)

เมื่อ เด็กชายจาม อายุได้ 6 ปี พ.ศ. 2459 พ่อแม่ได้พาไปกราบ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งได้มาจำพรรษาอยู่ใกล้บ้าน ที่ภูผากูด คำชะอี ต่อมา พ.ศ 2469 อายุได้ 16 ปี พ่อแม่พาไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่น ที่ จังหวัดอุบลราชธานี นุ่งขาวห่มขาว เป็นเวลา 9 เดือน พ.ศ. 2470 อายุได้ 17 ปี บรรพชาเป็นสามเณร จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มั่น 1 พรรษา ที่บ้านหนองขอน อำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ในปัจจุบัน) ได้รับใช้ครูบาอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร หลวงปู่สิงห์ ขันยาคโม หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นต้น นอกจากนั้น ยังเป็นสหธรรมิกเพื่อนสามเณร กับสามเณรสิม (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) อีกด้วย

      พ.ศ. 2472 อายุได้ 19 ปี สามเณรจาม ออกธุดงค์ไปยังขอนแก่น กับหลวงปู่อ่อน หลวงปู่กงมา และป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคเหน็บชา จึงจำเป็นต้องลาสิกขา กลับไปรักษาตัวที่บ้านห้วยทราย คำชะอี ครั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บก็ใช้ชีวิตฆราวาส ทำไร่ ทำนา ค้าขาย ต่อมาจนถึงอายุ 28 ปี ครั้งเมื่อคราวที่นายจาม ผิวขำ มีอายุได้ 27 ปี พ่อกา (โยมพ่อ) บวชเป็นพระภิกษุ (ใช้ชีวิตอีก 6 ปี ก็มรณภาพในปี 2486) ส่วน แม่มะแง้ (โยมแม่) ก็ได้บวชชี (ใช้ชีวิตอีก 36 ปี จึงถึงแก่กรรม) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2480 นายจาม ผิวขำ ไปไหว้พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เพื่ออธิษฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา

    แต่เมื่อไปซื้อเครื่องบวชที่ร้านขายสังฆภัณฑ์ ในตลาดบ้านผือ นายจามได้พบนางสาวนาง ลูกสาวเจ้าของร้าน เกิดความรักใคร่ทันทีเมื่อแรกพบ แม่ชีมะแง้ (ผู้เป็นแม่) กับแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ จึงพานายจามไปบวชเป็นสามเณรไว้ก่อน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2481 ที่วัดป่าโคกคอน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เพื่อหนีผู้หญิง แล้วจึงเดินเท้าต่อไปไหว้พระพุทธบาทบัวบก หอนางอุษา และมุ่งหน้าไป วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ปีต่อมา นายจาม อายุได้ 29 เต็มปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2482 เมื่อบวชเสร็จพระจาม มหาปุญโญ ได้ออกธุดงค์องค์เดียวไปภาวนาที่พระบาทคอแก้ง บริเวณวัดพุทธบาท ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ขณะภาวนาเกิดนิมิตเห็นพญานาคขึ้นมาแล้วบอกว่า ที่นี่เป็นพระพุทธบาทจริง พวกตนได้ขอไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จ ผ่านมา

      ต่อมา พระจามได้ธุดงค์ไปภาวนาอยู่ ที่ถ้ำพระพุทธบาทบัวบก ตั้งใจปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าและพระอริยะสาวก จนได้รู้ว่า เจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่

เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของ พระอาจารย์ หลวงปู่บุญ ปญฺญาวุโธ (พระอาจารย์ของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร) อัฐิได้กลายเป็นพระธาตุแล้ว ซึ่งพระจามไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย ขณะภาวนาอยู่ได้เกิดแสงสว่างเป็นลำพุ่งลงมาจากท้องฟ้า สว่างเฉพาะบริเวณเจดีย์ พอรุ่งเช้าจึงไปค้นดู ปรากฏหลักฐานที่สลักไว้ที่ฐานเจดีย์จึงทราบความจริง จากนั้นพระจามจึงเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดหนองน่อง บ้านห้วยทราย คำชะอี เป็นพรรษาที่ 1

      พ.ศ. 2483 พระจามอายุ 30 ปี เมื่อออกพรรษาแล้ว จึงเดินทางไปอยู่ที่ภูเก้า กับหลวงพ่อกา (โยมพ่อ) ระยะหนึ่ง จึงไปอยู่ภูจ้อก้อ ได้เดินทางต่อไปบ้านห้วยยาง อำเภอชุมแพ ไปบ้านกกเกลือ และถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ที่ถ้ำผาบิ้ง ในคืนสุดท้าย เวลาใกล้รุ่งพระจามได้นั่งภาวนา จนเกิดจิตแจ้งสว่าง เห็นทุกทิศทางสว่างไสว จิตตั้งอยู่ในความสว่างประมาณ 20 นาที เหมือนจุดเทียนแล้วความสว่างก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสว่างรอบทิศ แล้วค่อยๆ ลดความสว่างลงไปๆจนดับมืด ขณะสว่างนั้น ได้ยินคนคุยกันซึ่งเป็นอาโลกกสิณ และในตอนท้ายของการภาวนานั้น ได้ทราบว่าถ้ำผาบิ้งแห่งนี้ เป็นสถานที่นิพพานของพระอุบาลีมหาเถระ ตั้งแต่ พ.ศ.4 หลังจากนั้นจึงได้ออกจากถ้ำผาบิ้ง มุ่งไปเพชรบูรณ์

      พ.ศ. 2485 อายุ 32 ปี พรรษาที่ 4 ได้พบกับอาจารย์สิม พุทธาจาโร ซึ่งเป็นสหธรรมิกกันในสมัยที่เป็นสามเณร แม้ว่าจะเป็นเพื่อนกันมาก่อน แต่ขณะนั้นก็ต่างพรรษากัน เป็นระดับครูบาอาจารย์แล้ว ความคิดเห็นที่แตกต่างกันก็ยังเป็นเชื้อ ให้มีการถกแถลงด้านธรรมะกันอย่างออกรสในธรรม ในปีนั้น หลวงปู่จามได้เคยโต้วาทีกับบาทหลวงคริสต์ ที่บ้านพุงต้อม ตำบลยุวา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงนั้น มีหญิงสาวหลายคนพยายามที่จะได้ตัวหลวงปู่จามไปเป็นสามี หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้เทศนาภัย 4 อย่างของนักบวช ได้แก่ มาตุคาม, ทนคำสอนไม่ได้, ทนต่อปากท้อง ทนลำบากไม่ได้ และกามคุณ 5

      ในปี 2489 หลวงปู่จาม ไปพักที่วัดบ้านนาในกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ซึ่งหลวงปู่หลุย พาหลวงปู่จามเข้ากราบหลวงปู่มั่น แล้วกราบเรียนว่า “สามเณรจาม ตอนนี้บวชเป็นพระแล้วครับกระผม” หลวงปู่มั่นกล่าวว่า “บวชแล้ว เพราะท่านมีนิสัยนักบวช” หลวงปู่มั่นจึงให้โอวาทแก่หลวงปู่จามว่า “เมื่อก้าวมาสู่หนทางแห่งความดี ต้องเดินหน้าสู้ทน ตายเป็นว่า (ตายเป็นตาย) อยู่เป็นว่า (อยู่เป็นอยู่) เหตุเพราะทางอื่นนั้นปราศจากความร่มเย็น ไม่เป็นความสุข อันนี้ความดีจะเป็นผลของตน ผู้เดินอยู่ในทางนี้ได้ตลอดไปนั้น จิตใจก็อยู่ใกล้ธรรมอยู่กับธรรมะไม่ละทิ้งความดี ตนก็จะเป็นผู้ราบรื่น ร่มเย็น ผาสุกอยู่ได้ในปฏิปทาแห่งตน” เมื่อให้ธรรมะจบ หลวงปู่มั่นถามว่า “เข้าใจไหม จำไว้ให้ดี” หลวงปู่จาม ซาบซึ้งในคำสอนนี้ ด้วยความปีติสุขใจยิ่ง

พ.ศ. 2494 อายุ 41 ปี (พรรษาที่ 13) หลวงปู่จามได้ธุดงค์ต่อไป ขณะที่ได้บำเพ็ญภาวนาบริเวณริมแม่น้ำกก ไม่ไกลจากเมืองเชียงรายมากนัก ได้ภาวนาแต่จิตไม่สงบ ก็ได้มีพญานาคโผล่ขึ้นมาจากแม่น้ำกกบอกว่า ”จิตสงบหรือไม่สงบไม่เกี่ยวกับพญานาค อยู่ที่จิตของท่านเอง” หลวงปู่จามถามว่า ”ถ้าไม่เกี่ยวแล้วขึ้นมาทำไป” พญานาคตอบว่า ”ได้ยินเสียงสนั่นหวั่นไหว เหมือนดินจะถล่ม มีอะไรเกิดขึ้นจึงโผล่ขึ้นมาดู ก็เห็นว่าพระผู้เป็นเจ้านั่งสมาธิถาวนา จึงขออนุโมทนาแสดงความยินดีต่อการบำเพ็ญสมณธรรมของท่านพระผู้เป็นเจ้าด้วย” หลวงปู่จามเล่าว่า เห็นภาพนาคปรากฏในสมาธิโผล่ขึ้นเหมือน้ำสูงประมาณ 3 เมตร ลำตัวใหญ่ประมาณเท่ากระบุงข้าว ตัวขนาดเท่าลำต้นตาล สีเลื่อมพราย มีหงอนแดง ต่อมาในภายหลังหลวงปู่ได้ภาวนา จึงได้ทราบต่อมาว่า พญานาคตนนี้ได้ปรารถนาจะเป็นพระอสีติมหาสาวก ของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตเบื้องหน้า

      พ.ศ. 2506 อายุ 54 ปี กลับเยี่ยมบ้านครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2506 เป็นปีแรก ที่หลวงปู่จามยินยอมเดินทางกลับมาที่บ้านห้วยทราย หลังจากไปอยู่ทางภาคเหนือกว่า 22 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484–2506) ขณะนั้นแม่ชีมะแง้ โยมแม่ของหลวงปู่จาม ซึ่งบวชเป็นแม่ชี และพำนักที่สำนักชีบ้านห้วยทราย ส่วนหลวงปู่จาม พำนักอยู่กับสามเณรอินทร์ (พระอาจารย์อินทร์ถวาย) ที่ป่าช้าบ้านห้วยทราย คำชะอี ในปี พ.ศ. 2506 เป็นปีแรกที่คณะญาติโยมบ้านห้วยทรายได้ไปรับ คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ กลับจากวัดป่าบ้านตาด เมื่อพักอยู่พอสมควรแล้ว หลวงปู่จาม ได้เดินทางกลับไปภาคเหนืออีกครั้ง และเปิดโอกาสให้คณะญาติไปเยี่ยมเยียนที่ภาคเหนือได้เป็นครั้งคราว และพร้อมจะเดินทางกลับมาโปรด หากคณะญาติมีความจำเป็น

      พ.ศ. 2512 อายุ 59 ปี พรรษาที่ 31 หลวงปู่จามเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด โดยไม่บอกให้ใครทราบล่วงหน้าก่อนเลย และได้อยู่พำนักที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี นับแต่นั้นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน หลวงปู่จามเล่าว่า สถานที่ต่างๆ ที่ภาวนาเจริญก้าวหน้าทางจิตดีนั้น เพราะอดีตกาลเป็นสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าในอดีตได้มาตรัสรู้บ้าง ตั้งพระพุทธศาสนาบ้าง เสด็จดับขันธปรินิพพานบ้าง ถือว่าเป็นเขตมงคล แม้ต่อไปภายภาคหน้า ก็จะเป็นถิ่นมงคลสำหรับพระพุทธเจ้าในอนาคตอีกด้วย เช่น บริเวณวัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เคยเป็นสถานที่จำพรรษาของพระอัครสาวก คือ พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร จำนวน 1 พรรษา ในถ้ำตับเต่า อำเภอฝาง และเคยเป็นที่นิพพานของพระกิมพิละเถระ หลวงปู่มั่นเคยจำพรรษาอยู่ที่นี่ 1 พรรษา

      ต่อมา หลวงปู่จาม ได้มีโอกาสฟังธรรมจาก หลวงปู่มั่น ในวาระสำคัญหลายครั้ง โดยที่หลวงปู่จาม ได้ อธิฐานจิตถามหลวงปู่มั่นล่วงหน้าไว้ทั้ง 4 ครั้ง ปรากฏว่าหลวงปู่มั่นทราบได้ด้วยญาณทัศนะ และเทศนาในเรื่องที่หลวงปู่จามต้องการทราบทุกครั้ง

    ครั้งที่ 1 หลวงปู่จาม มีความสงสัยว่า ”คนที่ได้ธรรมะเป็นอย่างไร ทำไมถึงได้ธรรมะปฏิบัติอย่างไร“ จึงอธิษฐานถามหลวงปู่มั่น คืนวันนั้น หลวงปู่มั่นยก “หิริ โอตฺตปฺป” ขึ้นมาเป็นหัวข้อแสดงพระธรรมเทศนา พระสงฆ์ที่พักอย่าตามสถานที่ต่างๆ จะมารวมกันฟังธรรมเสมอ เมื่อหลวงปู่มั่น เทศนาจบลงก็หันหน้ามามองไปที่หลวงปู่จาม แล้วถามเป็นเชิงปรารภว่า “เป็นอย่างไรท่านจาม ผู้ได้ธรรมเป็นอย่างนี้ เข้าใจไหม” หลวงปู่จามตอบว่า ”เข้าใจครับกระผม” บรรดาพระสงฆ์ที่นั่งฟังก็หันมามอง หลวงปู่จาม ก้นทั้งหมด เมื่อหลวงปู่จามมกลับไปที่พัก ก็รีบนั่งภาวนาเพื่อทบทวนคำสอนของหลวงปู่มั่น เพื่อให้จำได้อย่างขึ้นใจ

      ครั้งที่ 2 หลวงปู่จาม อยากรู้เรื่อง ”พระธรรมวินัยว่า ธรรมอย่างหยาบ ธรรมอย่างกลาง ธรรมอย่างละเอียด เป็นอย่างไร” จึงได้กำหนดจิต อธิษฐานถามหลวงปู่มั่น และหลวงปู่จาม ก็คิดนึกในใจต่อไปว่า “อยากรู้ถึงปฏิปทาภพชาติของตนเองด้วย” 

ในคืนนั้นหลวงปู่มั่น ได้เทศนา โดยยกหัวข้อธรรมขึ้นว่า “หีนา ธมฺมา มชฺฌิมา ธมฺมา ปณีตา ธมฺมา” แล้วอธิบายธรรมและวินัยควบคู่กันไป ให้รู้เข้าใจกระจ่าง และได้แจกแจงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเที่ยงคืนพอดี ต่อจากนั้นหลวงปู่มั่นก็เทศนาต่อไปว่า

   “ให้ตั้งใจเจริญพุทธคุณ ตามรอยบาทของพระพุทธเจ้า ถือด้วยใจ ปฏิบัติด้วยใจ เจริญพุทธเนตฺติ ด้วยการประพฤติเพื่อความหนักแน่นในธรรม ผู้ถึงพระพุทธเจ้าด้วยหัวใจ เท่านั้นที่เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัยอยู่ได้…”

       ครั้งที่ 3 หลวงปู่จาม อยากรู้เรื่อง “พระอภิธรรม” จึงอธิษฐานจิตถามไว้ พอตอนกลางคืน หลวงปู่มั่นก็เทศนาเริ่มต้นที่ “มูลกัจจายนะ” ตรงตามที่หลวงปู่จาม ตั้งอธิษฐานไว้

    ครั้งที่ 4 หลวงปู่จาม เกิดข้อสงสัยว่า “เราเองก็ทำความเพียรอย่างจริงจังมาก แต่ไม่ค่อยได้ผลดีตามที่ปรารถนา พระองค์อื่นก็คงเป็นเช่นเดียวกันกับเรา เราเองก็คงมีอีกไม่น้อย” จึงอธิษฐานจิตถามไว้ล่วงหน้า เมื่อหลวงปู่มั่น ได้เทศนากัณฑ์แรกจบไป ก็เทศนาเตือนสติในตอนท้ายว่า “เอาจริงเอาจังเกินไป หรือขวนขวายพยายามพากเพียรมากไป แต่ขาดปัญญา ก็เป็นเหตุให้ใจดิ้นรนอยากได้ อยากเป็น อยากเห็น อยากสำเร็จ อยากบรรลุธรรม โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ ความอยากของตนจึงเป็นอุปสรรคของตน จึงให้ดูใจดูตนของตนด้วยสติปัญญา“ เมื่อเทศน์จบหลวงปู่มั่นก็หันหน้ามาทางหลวงปู่จาม แล้วถามว่า “เป็นอย่างไรท่านจาม ความโลภเป็นอย่างนี้ เข้าใจไหม” หลวงปู่จาม ตอบอย่างเคารพและเกรงกลัวเป็นที่สุดว่า “เข้าใจซาบซึ้งเป็นที่สุดครับกระผม”

      หลวงปู่จามเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทั้งศีลของพระสงฆ์ 227 ข้อ และศีลอภิสมาจาร 3,500 ข้อ ท่านอยู่อย่างสมถะ ไม่เคยขอเงินบริจาค ไม่มีการจำหน่ายวัตถุมงคล ในวัดป่าวิเวกวัฒนารามไม่มีตู้รับบริจาค ท่านตั้งใจปฏิบัติอย่างหนักแน่นในธรรม แม้ระยะหลังสุขภาพไม่ดี ท่านยังออกบิณฑบาตทุกเช้า ไม่เบื่อหน่ายในความเพียร ท่านเทศนาสั่งสอนผู้ไปกราบไหว้ด้วยใบหน้ายิ้มละไมเสมอว่า

     “คนเรา เมื่อประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม อยู่ในความไม่ประมาท หมั่นบำเพ็ญบุญ สวดมนต์ไหว้พระทุกวัน แล้วก็ไม่ต้องวิ่งไปหาพระที่ไหนชีวิตก็เป็นสุข “

     เมื่อชาวบ้านห้วยทราย หรือคนในอำเภอคำชะอีไปกราบท่าน ก็ได้รับคำสอนเป็นภาษาพื้นเมืองหรือภาษาภูไท เช่น

     “…อันเลอเจ๋อ มันฮับมิไหว มันต้านทานมิได๊ กะวางเฉยเสียเน้อ…”

      หลวงปู่จาม มหาปุญโญ มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 09.00 น. ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตำบลคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร สิริอายุรวม 104 ปี พรรษา 75

 

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post