ประวัติ หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ เกิดเมื่อ ปีจอ พ.ศ. 2393 (นับแบบใหม่) (14 มีนาคม พ.ศ. 2393 – 1 เมษายน พ.ศ. 2394)[3] หรือ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2392[4] เป็นชาวเมืองสุรินทร์ เมื่ออายุ 21 ปี ถูกเกณฑ์ทหารเข้ารับราชการ และเมื่อปลดจากสภาพการเป็นทหารมาแล้ว ท่านก็มายึดใช้อาชีพค้าวัว ค้าควายและเป็นพรานอยู่แถวเขตช่องแค ซึ่งแต่เดิมมีสภาพเป็นป่าดงดิบและยังไม่ได้ตั้งเป็นอำเภอตาคลี ใช้ชีวิตเป็นหนุ่มอยู่หลายปีและรู้สึกเบื่อหน่ายทางโลก จึงได้อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2431 โดยมี พระครูธรรมขันธ์สุนทร เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ ถ้ำเขาเสียบ เขตช่องแค อำเภอตาคลี เพราะก่อนบวชท่านเคยอยู่ในเขตนี้มาก่อน ก่อนที่จะมาอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาค อำเภอตาคลีนั้น หลวงปู่สีอยู่ที่วัดหนองลมพุก อำเภอโนนสังข์ จังหวัดอุดรธานี ใน พ.ศ. 2512 พระพระครูนิวิฐปริยัติคุณ พร้อมด้วยชาวบ้าน ได้พากันไปนิมนต์หลวงปู่ให้มาอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาค ในระยะแรกที่หลวงปู่มาอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาคนั้น ท่านจำพรรษาอยู่ที่กุฏิไม้หลังเล็กๆหน้าปากทางขึ้นถ้ำ (ปัจจุบันได้รื้อไปแล้ว) ในขณะนั้นคนในตลาดตาคลียังไม่ค่อยมีใครรู้จักหลวงปู่ และท่านก็ไม่ได้แสดงอิทธิฤทธิ์อันใดให้ใครรู้ วันหนึ่งๆท่านจะนั่งตะบันหมากฉัน การฉันหมากของท่านก็ไม่เหมือนใคร เพราะไม่ได้ฉันเปลือกไม้ที่มีขายตามท้องตลาดเหมือนที่คนกินหมากทั่วไปซื้อมากิน ท่านจะฉันแก่นไม้คูนแดงซึ่งจะมีคนตัดมาถวายตลอด โดยนำมาฟันเป็นชิ้นๆ แล้วนำลงตำให้ละเอียดแล้วจึงฉันกับหมากแทนเปลือกไม้ กิจสงฆ์ของท่านที่ทำเป็นประจำก็คือ จะสรงน้ำตอนประมาณบ่าย 3-4 โมงเย็นทุกวันและหลวงปู่จะตื่นนอนทำวัตรเช้าตอนตี 3 ทุกวัน บทสวดมนต์ที่หลวงปู่สวดเป็นประจำคือ บท “กรณียเมตสูตร” เป็นประจำ เรื่องมนต์นี้ พระอาจารย์ประเทือง เคยถามหลวงปู่ว่าสวดมนต์บทไหนดี หลวงปู่จะบอกว่า “ดีทุกบท” บทที่สำคัญ “กรณียเมตสูตร” ให้นั่งภาวนา ทำวัตรสวดมนต์อย่าให้ขาด ท่านได้มรณภาพเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมอายุได้ 126 ปี – 127 ปี บวชพระมาได้ 89 พรรษา[5] พระสี ฉนฺทสิริ
ชื่ออื่น หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ
เกิด พ.ศ.2393 (126ปี) 10 เมษายน พ.ศ.2392 (127ปี)
มรณภาพ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2520
นิกาย มหานิกาย
ที่อยู่ วัดเขาถ้ำบุญนาค จังหวัดนครสวรรค์
อุปสมบท พ.ศ.2432
พรรษา 89 พรรษา