Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม (พระครูสังวรวีรธรรม)

zSpecial

หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม (พระครูสังวรวีรธรรม)

หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม (พระครูสังวรวีรธรรม)

วัดถ้ำซับมืด ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
พระครูสังวรวีรธรรม (หลวงปู่สุพีร์
สุสญฺญโม) ท่านเกิดในตระกูล ขันติวงษ์ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๖
ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา ณ บ้านหนองขาม หมู่ที่ ๑๐ ต.เสียว
อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
ท่านเป็นบุตรของ นายเบ้า-นางต่อม ขันติวงษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด
๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕
ครั้นอายุได้ ๒๕ ปี ท่านเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดวิสุทธิโสภณ
ต.เป๊าะ อ.บึงบูรพ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ เวลา ๑๔.๒๕ น.
โดยมี พระครูวิจารย์พุทธิธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์, เจ้าอธิการเกลี้ยง เป็นพระกรรมวา
จาจารย์ และพระอธิการศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุสญฺญโม”
อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้มีความสำรวมดี
ถ้ำซับมืด แดนธรรมอันล้ำค่า
วัดถ้ำซับมืด ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ สังกัดมหานิกาย โดยนายอินตา
สุขแสวง ได้บุกเบิกถางป่าเพื่อทำไร่ได้พบถ้ำ
บริเวณโดยรอบเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ป่านานาชนิด มืดครึ้มตลอดทั้งวัน มีน้ำซับ
จากแอ่งหิน ชาวบ้านที่มาทำไร่ได้อาศัยใช้สอยดื่มกิน ด้วยเหตุนี้
ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “ถ้ำซับมืด“
หลังจากนั้น ประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๘๐ หลวงปู่สีลา
อิสฺสโร ซึ่งเป็นศิษย์อาวุโสรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต วัดป่าโพธิ์
อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ได้เดินทางท่องเที่ยวธุดงค์กรรมฐานไปทาง อ.ปากช่อง
จ.นครราชสีมา แล้วได้พบป่าเขา และถ้ำ เหมาะเป็นสถานที่สำหรับการบำเพ็ญภาวนา
และเจริญสมณธรรมสำหรับอริยมุนีผู้มุ่งตรงสู่แดนแห่งความหลุดพ้น
จึงอยู่พักปักกลดโดยพระภิกษุทั้งหมดได้เข้าพักบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ถ้ำสวยงามที่ชื่อว่า
“ถ้ำมืด” ไม่เพียงแต่ถ้ำเท่านั้นที่มืด ป่าเขาก็มืดทึบไปหมด ที่ชื่อว่า “ถ้ำมืด”
เพราะว่าแสงแดดส่องเข้าไปไม่ถึง อากาศหายใจไม่ค่อยจะพอ
ภายในถ้ำมีความเย็นยะเยือก มีเถาวัลย์เครือไม้ระโยงระยาง ซึ่งต่อมาได้เรียกถ้ำนี้ว่า
“ถ้ำซับมืด”

ต่อมานายอินตา สุขแสวง และชาวบ้านเกิดศรัทธาได้นิมนต์ท่านอยู่จำพรรษา
ถวายที่ดินให้เป็นที่พักสงฆ์ ช่วยกันปรับปรุงถ้ำให้เป็นที่อยู่จำพรรษา สร้างศาลา ๑ หลัง
ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และมีพระอยู่จำพรรษาไม่เคยขาด จนกระทั้งปี พ.ศ.
๒๔๙๘ พระครูญาณโศภิต (มี ญาณมุนี) วัดป่าสูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
พระอาจารย์ใหญ่ของหลวงพ่อสีลา อิสฺสริโก หลวงพ่อทา จารุธมฺโม หลวงพ่อสุพิน
ปภสฺสโร หลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโม ได้มาอยู่จำพรรษาอบรมชาวบ้าน
และพัฒนาวัดเรื่อยมา
จากหนังสือประวัติ หลวงปู่เครื่อง
ธมฺมจาโร หลวงปู่เครื่องท่านได้เล่าไว้ว่า…การเดินธุดงค์เข้าไปในป่าลึกทางซับม่วง
ในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะเป็นป่าดิบชื้นตามเชิงเขา
และชุกชุมไปด้วยไข้ป่าหรือไข้มาลาเรีย
พระภิกษุทั้งหมดได้เข้าพักบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ถ้ำสวยงามที่ชื่อว่า “ถ้ำมืด”
ไม่เพียงแต่ถ้ำเท่านั้นที่มืด ป่าเขาก็มืดทึบไปหมด ที่ชื่อว่า “ถ้ำมืด”
เพราะว่าแสงแดดส่องเข้าไปไม่ถึง อากาศหายใจไม่ค่อยจะพอ
ภายในถ้ำมีความเย็นยะเยือก มีเถาวัลย์เครือไม้ระโยงระยาง ซึ่งต่อมาได้เรียกถ้ำนี้ว่า
“ถ้ำซับมืด”
หลวงปู่มีนำคณะธุดงค์เข้าบำเพ็ญอยู่ภายในถ้ำมืด นานถึง ๖ วัน ๖ คืน
อธิษฐานภาวนาสู้ตาย หมายธรรมขั้นสูง
หวังปิดชีพกิเลสอวิชชาที่ก่อกวนมานานด้วยดาบอันคมกริบคือธรรม
ปรากฏการณ์ในวันแรก
มีสหธรรมิกท่านหนึ่งชื่อว่า พระมหาบุญ ท่านบำเพ็ญธรรมอยู่ได้เพียงวันเดียว
ก็มีอาการอาพาธด้วยไข้มาลาเรียอย่างหนัก จึงนำท่านออกจากถ้ำซับมืด
ถอนการอธิษฐานธุดงค์ กลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครราชสีมา
และอยู่ได้เพียงวันเดียวก็ถึงแก่มรณภาพ หลวงปู่เครื่องก็จับไข้ มีอาการหนักหัว
แน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หลวงปู่เครื่องได้นั่งสมาธิ
ใช้สติสัมปชัญญะตรวจสอบอาการไข้
รวบรวมพลังจิตให้เกิดความเข้มแข็งเพื่อเอา่ชนะ แต่อาการไข้ก็ไม่ทุเลาลง
สติรับรู้ได้ว่าอาการไข้กลับหนักยิ่งขึ้น
จึงรำพึงในใจว่าถ้าขืนปล่อยให้ไข้กำเริบต่อไปอีกคงตายแน่
หลวงปู่เครื่อง จึงได้ตัดสินใจปีนหน้าผาเกาะต้นไม้
เกี่ยวเถาวัลย์หรือเครือกระไดลิงขึ้นไปเพื่อขอยาแก้ไข้มาลาเรียจากพวกฝรั่ง
ที่กำลังระเบิดหินอยู่บนหลังเขาเพื่อก่อสร้างถนนมิตรภาพ ได้พบล่ามคนไทย
บอกเขาว่าเป็นไข้มาลาเรีย แจ้งความประสงค์ ล่ามจึงพาไปพบฝรั่งได้ยามา ๖ เม็ด
แต่เขาสั่งให้กินเพียงเม็ดเดียวก็พอ จึงได้กินยาตามที่เขาสั่ง อาการไข้จึงหายไป

ภายในใจก็คิดว่าได้รอดพ้นจากความตายแล้วการออกเดินธุดงค์ในครั้งนั้น พระภิกษุทั้ง
๕ รูปต่างก็ได้รับเชื้อมาลาเรียกันครบทุกรูป แม้แต่หลวงปู่มีเอง
ท่านก็ป่วยเป็นไข้ป่ามีอาการปางตายเช่นเดียวกัน
แต่ธรรมะท่านแกร่งกล้าประกอบกับหมอมารักษาได้ทันเวลา
อาการท่านดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายขาดทันที
หลวงปู่มีท่านจึงได้ถอนธุดงค์ในคราวนั้นเสียก่อน
เพราะขืนดึงดันไปสู้กับภัยธรรมชาติก็ไม่มีความหมาย มีแต่จะตายไปเปล่าๆ
ยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทา หลักเหตุผล ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นการชอบกว่า
ดังนั้น ท่านจึงกลับมายังวัดป่าสูงเนิน เมื่อท่านมาเห็นศพพระมหาบุญ ผู้เป็นศิษย์
ซึ่งมรณภาพด้วยพิษไข้มาลาเรียจากโรงพยาบาลนครราชสีมา กลับมาถึงวัด
จึงเกิดความโทมนัสเป็นอย่างมาก จนถึงกลับหน้ามืดเป็นลม
ต้องช่วยกันนวดเฟ้นเกิดความชุลมุนกันพักใหญ่ ท่านรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่ง !
ที่ลูกศิษย์อายุยังน้อย เป็นมหาเปรียญยังสามารถทำประโยชน์ให้กับพระศาสนาได้
แต่มาด่วนตายเสียก่อน แต่…ถึงจะตาย ก็ตายอย่างห้าวหาญ ใจเด็ดเดี่ยว
ไม่ได้นอนตายอย่างพระขี้ขลาด ตายอย่างนักสู้ สู้สุดตัว
ไม่ถนอมออมแรงและอ่อนข้อต่อกิเลสตัวมีพิษร้าย ตัวพาเกิดพาตายมาหลายภพชาติ
ตายอย่างสมศักดิ์ศรีนักรบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และท่านพอใจที่จะตายอย่างนี้ ถึงตายก็ได้ปฏิบัติตามเยี่ยงอย่างที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
กล่าวสอนว่า
“ธรรมมันอยู่เลยความตาย ใครยังกลัวตายอยู่ก็จะไม่พบพระสัทธรรม”
ผลของการออกปฏิบัติธรรมด้วยการเดินธุดงค์ไปที่ถ้ำซับมืดในครั้งนั้น
มีพระภิกษุถึงแก่มรณภาพลงเพราะไข้มาลาเรียเพิ่มอีก รวมกับพระมหาบุญเป็น ๓
องค์ ทำให้เกิดความวุ่นวายทางใจอีกครั้งหนึ่ง
วัดถ้ำซับมืด ตั้งอยู่เลขที่ ๒ หมู่ที่ ๒๐ บ้านซับมืด ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
เป็นวัดราษฏร์ฝ่ายอรัญวาสี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุเป็นที่ตั้งวัดถ้ำซับมืด จำนวน ๕๐ ไร่ เมื่อวันที่ ๑๔
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ทิศเหนือจรดภูเขา ทิศใต้จรดภูเขา
ทิศตะวันออกจรดไร่ชาวบ้าน และทิศตะวันตกจรดภูเขา ปัจจุบัน
มีพระครูสังวรวีรธรรม (หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม) เป็นเจ้าอาวาส
หลวงปู่สุพีร์ สุสัญฺญโม เจ้าอาวาสวัดถ้ำซับมืด ละสังขารแล้ววันนี้ เมื่อเวลา ๐๔.๕๐ น.
ตรงกับวันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ณ กุฏิอาพาธวัดป่าท่าโสม(ภูนาหลาว)
อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี สิริอายุครบ ๘๖ ปี ๓ เดือน ๒๕ วัน ๖๓ พรรษา

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post