Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

หลวงพ่อเงิน พุทฺธโชติ

zSpecial

หลวงพ่อเงิน พุทฺธโชติ

หลวงพ่อเงิน พุทฺธโชติ

หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ เกิดวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2351 ตรงกับรัชกาลของ​ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นอดีตเจ้าอาวาส​ วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร

 

ประวัติ

หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2351 ตรงกับวันศุกร์​ แรม​ 12​ ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง ในปลายแผ่นดินของ​ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด​ฟ้า​จุฬา​โลกมหาราช​ รัชกาลที่ 1 โยมบิดาชื่อ อู๋ เป็นชาวบางคลาน โยมมารดาชื่อฟัก เป็นชาวแสนคอ (อำเภอขาณุวรลักษบุรี) โดยหลวงพ่อเงินเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน


เมื่อท่านอายุได้ 3 ขวบ ผู้เป็นลุงได้พามาอยู่ที่กรุงเทพฯ​ เพื่อศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดตองปุ​ หรือ​ วัดชนะสงคราม ต่อมา เมื่อท่านอายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดชนะสงคราม ศึกษาพระธรรมวินัย​ ก่อนที่หลวงพ่อเงินจะบวชเป็นพระ​ ท่านได้สึกจากการเป็นสามเณรเมื่ออายุครบ 20 ปี และได้กลับไปสู่บ้านเกิดเมืองนอนคือจังหวัดพิจิตร ระหว่างที่สึกออกมานี้ ด้วยความที่เป็นวัยฉกรรจ์ ท่านได้ไปชอบพอกับสาวชาวบ้านชื่อ เงิน เช่นเดียวกัน แต่ด้วยมิใช่เนื้อคู่ จึงทำให้ต้องแคล้วคลาดจากกัน มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่ท่านไปมาหาสู่ที่บ้านสาว ตอนขึ้นบ้านนั้นขั้นบันไดเกิดหักขึ้นมาทำให้ท่านตกบันได​ ท่านจึงเกิดความละอายและไม่กล้าไปบ้านสาวคนนั้นอีกเลย ครั้นพออายุได้ 20 ปี บิดา มารดา และญาติพี่น้องมีความประสงค์จะให้ท่านอุปสมบทเป็นพระ แต่ท่านไม่ยอมเพราะเกรงว่าอายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริง​ บรรดาญาติก็อนุโลมตาม จนกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ 22 ปี ตรงกับ พ.ศ.2373 ท่านอุปสมบท ณ วัดชนะสงคราม มีฉายาว่า “พุทธโชติ” บวชได้ 3 พรรษา​ พี่ชายของท่านคือขุนภุมรา ได้เดินทางไปรับกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม​ (วัดบางคลานใต้)​ จังหวัดพิจิตร เนื่องจากปู่ของท่านได้ล้มป่วยลง​ ต้องการให้หลวงพ่อเงินช่วยดูแลรักษาเพราะได้ร่ำเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณและรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีต่างๆ อยู่วัดคงคาราม ได้ 1 พรรษา เนื่องจากท่านเป็นพระนักวิปัสสนากรรมฐานชอบอยู่อย่างสงบในช่วงเข้ากรรมฐาน ท่านเห็นว่าระหว่างแม่น้ำยมและแม่น้ำพิจิตร​ (แม่น้ำน่านสายเก่า)​ ที่ไหลมาบรรจบกัน​ มีวัดร้างเก่าอยู่และมีป่าอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างมาก พ.ศ.2477 ท่านจึงไปสร้างวัดใหม่​ ลึกเข้าไปจากวัดร้างเดิมประมาณ 500 เมตร ชื่อวัดว่า​ วัดวังตะโก ตามชื่อหมู่บ้าน​ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น​ วัดบางคลาน​ หรือ​ วัดหิรัญญาราม​ ตอนที่ย้ายจากวัดคงคาราม หลวงพ่อได้นำกิ่งโพธิ์ติดตัวมาด้วย 1 กิ่ง​ แล้วนำกิ่งโพธิ์นั้นมาปลูกเสี่ยงทาย ถ้าหากต้นโพธิ์ตายก็คงจะอยู่ไม่ได้ ถ้าหากที่นี่จะเป็นวัดได้ขอให้ต้นโพธิ์เจริญงอกงาม ปรากฏว่าต้นโพธิ์เจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่โต แล้ววัดก็เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ​ จากกุฏิหลังคามุงแฝกเป็นมุงกระเบื้อง และสร้างศาลาพระอุโบสถตามลำดับ ตลอดระยะเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่นี่​ ได้บำบัดรักษาผู้ป่วยตามตำรับแพทย์แผนโบราณ การอาบน้ำมนต์ญาติโยมเดินทางมาให้รักษา มาขอมอบตัวเป็นศิษย์อย่างไม่ขาดสาย​ หลวงพ่อเงินก็ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ที่นี่ด้วย​

จากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพิจิตร ได้กล่าวถึงผลงานที่สำคัญหลวงพ่อเงินไว้ว่า ผลงานที่สำคัญของหลวงพ่อเงิน

1. ด้านการก่อสร้าง หลวงพ่อเงินมักเป็นธุระในการก่อสร้างถาวรวัตถุ​ เพราะท่านเป็นนักก่อสร้าง​ ได้ก่อสร้างโบสถ์ วิหาร วัดใกล้เคียงอยู่เสมอ โดยเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างจากการรวบรวมทรัพย์จากการทำวัตถุมงคล เช่น พระเครื่อง พระพิมพ์ต่างๆ พระบูชา ตลอดจนมีผู้บริจาคร่วมก่อสร้างศาลาพักร้อน เพื่อคนที่สัญจรไปมาจะได้พัก ศาลาที่ยังคงเหลืออยู่ เช่น ศาลาพักร้อนที่อยู่ระหว่าง​ หนองหลวงกับ​หนองขาว​ และที่​หนองแหน เขตตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล​ จังหวัดพิจิตร

2. ด้านการรักษาด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อเงินเป็นหมอแผนโบราณที่เก่งทางด้านรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยยาสมุนไพร หรือบางครั้งก็ใช้น้ำมนต์รักษา (คงจะได้ผลทางด้านกำลังใจในฐานะพระที่มีวิชาวิปัสสนาแก่กล้า) ปัจจุบันตำรายาสมุดข่อยของท่านยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดบางคลาน

3. ทางด้านวิปัสสนาเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เป็นศิษย์สำนักเดียวกันและเป็นเพื่อนสนิทกับ​ หลวงปู่ศุข​ วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านได้แนะนำ​ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์​ ให้มาเรียนทางด้านวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน รวมทั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสก็เสด็จมาประทับ ณ วัดวังตะโก เป็นเวลาหลายวันเพื่อทรงศึกษาทางด้านวิปัสสนา

หลวงพ่อเงินถึงแก่มรณภาพเมื่อก่อนรุ่งสางของวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462 แรม​ 11​ ค่ำ​ เดือน​ 10​ เวลาประมาณตีห้า​ (ตรงกับเช้าวันเสาร์​ เวลาไทยหากยังไม่รุ่งสางยังนับเป็นวันศุกร์)​ สิริอายุได้ 111 ปี

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post