ประวัติความเป็นมาของ
องค์โป๊ยเซียนโจวซือ ได้ก่อกำเนิดในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2451 นายเช่งจง แซโค้ว และนายฮวงเขี้ยว แช่โค้ว อาศัยอยู่ ณ หมู่บ้านไซลิ้ม อำเภอโผวเล้ง เมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ทั้งสองคนต่างก็อพยพหนีความลำบากจากสงครามในสมัยนั้นมาทำมาหากินในประเทศไทย ก่อนที่นายฮวงเทื้ยวฯ จะออกจากหมู่บ้านมา ได้อัญเชิญกระถางธูปทองขององค์โบียเซียนโจวซือจาก "ตึ่งถะโปว" ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้เคียงมายังประเทศไทยทั้งสองคนเมื่อมาถึงประเทศไทยได้พำนักอยู่ที่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งเป็นร้านค้าชื่อว่า "โค้วเจียบฮวด" ซึ่งเป็นอาชื่อนายอัวชิม แชโค้ว อยู่ที่ตลาดหนองมนจังหวัดชลบุรี นายอัวซิมฯ ดีอกดีใจเป็นลันพ้นที่เซียนซือได้มาประดิษฐาน ณ บ้านของตน ก็ทำการตั้งโต๊ะบูชา กราบไหว้ตลอดมา
ในขณะนั้นการคมนาคมไม่สะดวก ทั้งสามคนต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบากโดยการหาบของใช้ในชีวิตประจำวันออกเร่ขายไปยังที่ต่าง ๆ และมักจะมาที่อำเภอศรีราชาเป็นประจำ เพราะเป็นเขตอำเภอใกล้เคียง ดังนั้นจึงเกิดความคุ้นเคยกับคนในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก และเนื่องจากเขาทั้งสามคนเคยร่วมงานล้างป่าช้าเก็บศพอัฐไร้ญาติ ที่หมู่บ้านเฉียะกังชัว หมู่บ้านโอวงวย ฯลฯ ที่ประเทศจีน จึงมีประสบการณ์ในเรื่องการเก็บศพอัฐิไร้ญาติล้างป่าช้า
ในปี พ.ศ. 2468 ที่อำเภอศรีราชาได้ริเริ่มทำการเก็บศพอัฐิไร้ญาติครั้งแรก สาเหตุเนื่องจากทางอำเภอ
ศรีราชาต้องการขยายการคมนาคม จึงต้องทำการล้างป่าช้าโดยเป็นการทำการล้างป่าช้าแบบง่าย ๆ โดยไม่ได้ทำพิธีทางศานาอะไรเลย หลังจาก
ทำการฌาปนกิจศพเสร็จแล้วก็นำเอาอัฐิไปลอยอังคารในทะเล หลังจากทำการลอยอังคารไปไม่กี่วันก็เกิดเหตุการณ์แปลกประหลาดขึ้น ในค่ำคืนที่มีดมิดช่วงเวลาค่ำ ๆ มักจะมีลมเย็น ๆ และเงาดำ ๆ พัดมาทำให้ตะเกียงดับ ประตูหน้าต่างก็เปิดปิดเองและยังได้ยินเสียงร้องครวญคราง คร่ำครวญกรีดร้องโหยหวน ทำให้ผู้คนที่อยู่ในละแวกนั้นพากันหวาดกลัว บรรดาข้าราชการประจำอำเภอและชาวบ้านในละแวกนั้นทนโดนรังควาญไม่ไหวต่างร้อนรุ่มกลุ้มใจ ไม่เป็นอันกินอันนอน ทางนายอำเภอศรีราชาได้เคยคุยกับชาวจีนโพ้นทะเล และรู้มาว่าการเก็บศพอัฐไร้ญาตินั้นจะมีองค์โปียเซียนโจวซือที่ช่วยได้ เพราะมีผู้ที่รู้ถึงการเก็บศพอัฐิไร้ญาติของทางประเทศจีนมาอาศัยอยู่ในเขตชลบุรีนั้นเล่าให้ฟัง จึงได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อหาข้อมูลและเห็นพ้องต้องกันว่า ควรอัญเชิญเซียนชื่อมาทำพิธีโปรดวิญญาณไร้ญาติเหล่านั้นให้ได้พ้นทุกข์สู่แดนสุขาวดี ดังนั้นจึงรวมชาวบ้านทำการเก็บศพอัฐิไร้ญาติโดยเริ่มต้นจากอัญเชิญ "ซาชัวก๊กอ๊วง" เพื่อมาเข้าทรงและได้รับพระราชโองการจากเง็กเซียนฮ่องเต้ที่มีใจความว่า การเก็บศพอัฐิไร้ญาตินั้นเป็นเรื่องที่ใหญ่และสำคัญมาก ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำกันง่าย ๆ จะต้องอัญเชิญองค์โป้ยเซียนโจวซือมาดำเนินการให้ แต่กลุ่มพ่อค้าประชาชนและพุทธศาสนิกชนชายหญิงทั้งหลาย ไม่ทราบว่าองค์โป๊ยเซียนโจวซืออยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร จึงได้สืบเสาะค้นหาไปทั่ว หลายวันต่อมา นายอัวซิมฯ ได้หาบของมาขายที่อำเภอศรีราชา ก็ได้สนทนาวิสาสะกับคนในท้องถิ่น จนกระทั่งรู้ถึงปัญหาของชาวบ้าน ซึ่งนายอัวชิมฯ เองรู้ดีว่าองค์โป๊ยเซียนโจวซือนั้นศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง มีชื่อเสียงร่ำลือกระฉ่อนไปไกล จึงได้บอกกับชาวบ้านในอำเภอศรีราชาว่ามีองค์โป๊ยเขียนโจวซือมาประทับอยู่ที่ "ร้านเจียบฮวด " ตลาดหนองมน ชลบุรี ต้องทำการอัญเชิญกระถางธูปทองขององค์โป้ยเขียนโจวซือมาประดิษฐานที่อำเภอศรีราชา เพื่อเป็นประธานในการจัดเก็บอัฐิศพไร้ญาติ ในขณะเดียวกันก็ต้องเชิญนายเซ่งจง แซโค้ว มาจัดทำพิธีการต่าง ๆ ในการเก็บศพอัฐิไร้ญาติ นี่จึงเป็นกระถางธูปทองกระถางแรกที่แสดงความศักดิ์สิทธิ์ในการเก็บศพอัฐิไร้ญาติ หลังจากนั้นมา บรรดาธรรมสถานพี่น้องก็มาอัญเชิญกระถางธูปไปสักการะบูชา สมาคมพุทธมามกสว่างประทีปธรรมสถาน(เม่งเต็ง) จึงได้ชื่อว่าเป็นธรรมสถานแห่งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
การเก็บศพอัฐิไร้ญาติที่อำเภอศรีราชาในครั้งนั้นได้สำเร็จเรียบร้อยลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากนายเซ่งจง แซโค้วได้ถ่ายทอดคาถาบูชาองค์เซียนซือให้ ซึ่งก็คือคาถาอัญเชิญเซียนซือที่บรรดาธรรมสถานทุกแห่งได้ใช้อยู่
ในปัจจุบัน และในการเก็บศพอัฐิไร้ญาติในครั้งนั้นได้รับคำชี้แนะจากองค์หลีงวนโจวซือ (ลีทิก้วย) ซึ่งประทับทรงด้วยตนเอง และเป็นองค์ที่ประกอบพิธีกรรมในการเก็บศพในครั้งแรกนี้ทั้งหมด
ความเป็นมาของ "โป๊ยเซียนโจวซือลงสู่ใต้" ก็ได้ถือกำเนิดในประเทศไทยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและพุทธสมาคมสว่างผลหนองมน (เม่งก๊วยเชี่ยงตั๊ว)ตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี ก็ถือเป็นปฐมกำเนิดแห่งความเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์โป๊ยเซียนโจวซือของสมาคมพุทธมามกสงเคราะห์การกุศลแห่งประเทศไทย (เม่งเลี้ยง) ในปัจจุบัน ซึ่งมีมูลนิธิในเครือถึง 65 แห่ง และจะมีเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250