Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

เจ้าแม่ทับทิม

เจ้าแม่ทับทิม

เจ้าแม่ทับทิม (หม่าโจ้ว)  เจ้าแม่ทับทิมเป็นเทวดาจีนที่สำคัญองค์หนึ่งในไทย เป็นที่รู้จักแพร่หลายมาช้านาน จนกลมกลืนกลายเป็นเทพสำคัญองค์หนึ่งของไทย นามแม่ย่านาง แต่ในภาคที่เป็นเทพนารีของจีนเรียกกันว่า เจ้าแม่ทับทิม จึงกล่าวได้ว่าแม่ย่านางของไทยมีที่มาจากเจ้าแม่ทับทิมของจีน เทพนารีของจีนที่คนไทยเรียกเจ้าแม่ทับทิมมีสององค์ องค์แรกมีชื่อที่เรียกกันแพร่หลายในหมู่คนจีนว่า มาจู่ กับ เทียนโฮ่ว

คนไทยสมัยอยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์เรียกตามเสียงจีน ฮกเกี้ยนว่า พระหมาจ่อ หรือ หมาจอ (จีนกลางว่า มาจู่ แต้จิ๋วว่า มาโจ้ว) องค์นี้เป็นที่มาของแม่ย่านางของไทย มีศาลอยู่ในชุมชนจีนแทบทุกแห่ง อีกองค์หนึ่งเป็นเทพนารีองค์สำคัญของจีนไหหลำ มีชื่อตามเสียงภาษาพูดของจีนไหหลำว่า ตุยบวยเต้งเหนี่ยง จีนกลางอ่านว่า สุ่ยเว่ยเซิ่งเหนี่ยง แต้จิ๋วว่า จุยบวยเซี่ยเนี้ย แต่มักเรียกสั้นๆ ว่า จุยบวยเนี้ย แปลว่าพระแม่ท้ายน้ำหรือพระแม่ปลายน้ำ ในไทยศาลใหญท่านอยู่ที่เชิงสะพานซังฮี้ฝั่งกรงุเทพฯ เทพนารีองค์นี้เป็นเทพท้องถิ่นเฉพาะของจีนไหหลำ จีนอื่นไม่ค่อยรู้จัก

เทพนารีสององค์นี้อาจจะมีที่มาจากเทพดั้งเดิมองค์เดียวกัน แล้วแยกเป็นสององค์ในภายหลัง มาจู่ (แม่ย่านาง) เดิมเป็นเทพของจีนมณฑลฮกเกี้ยนแล้วแพร่หลายไปทั่ว ตุยบวยเต้งเหนี่ยง (พระแม่ท้ายน้ำ)แพร่หลาย แต่ในหมู่จีนไหหลำซึ่งถือว่าเทพนารีทั้งสองนี้เป็นคนละองค์กัน องค์แรกเสียงจีนไหหลำเรียก มาโต่ว (มาจู่) องค์หลังเรียก ตุยบวยเต้งเหนี่ยง (สุ่ยเว่ยเซิ่งเหนี่ยง) คนจีนในไทยก็ถือว่าเป็นคนละองค์ เพราะชื่อภาษาจีนต่างกัน บางแห่งมีศาลเทพนารีสององค์นี้อยู่ใกล้กัน เช่น ที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีศาลเจ้าแม่มาโจ้ว (มาจู่) และศาลเจ้าแม่ทับทิม อยู่ไม่ไกลกันนัก ศาลเจ้าแม่ทับทิมนั้นชื่อเจ้าแม่เขียนเป็นภาษาจีนว่า 水尾圣娘 (ตุยบวยเต้งเหนี่ยง) จากชื่อศาลบ่งชัดว่าศาลเจ้าแม่มาจู่ (妈祖) เป็นของจีนแต้จิ๋ว ศาลเจ้าแม่ทับทิม (水尾圣娘) เป็นของจีนไหหลำ และเทพนารีทั้งสองนี้เป็นคนละองค์กัน

เนื่องจากเทวรูปของเทพนารีสององค์นี้มีรูปลักษณ์คล้ายกัน เครื่องทรงก็สีแดงทับทิมเหมือนกันคนไทยจึงเรียกเหมือนกันว่าเจ้าแม่ทับทิม และเข้าใจว่าเป็นองค์เดียวกัน

 

แหล่งที่มา : https://www.silpa-mag.com/culture/article_41855 

 

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post