เตียกั๊วเล่า ( 张果老 ) เซียนแห่งความมั่นคง อายุยืน สุขภาพดี
เตียก๊วยเล่า เซียนแห่งความมั่นคง อายุยืน สุขภาพดีเตียก๊วยเล่ามีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นคนแซ่จาง ชื่อตัวว่ากั้ว ท่านกล่าวเองว่าท่านถือกำเนิดในสมัยพระเจ้าตี้เหยา กล่าวกันว่าท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ตามจันทรคติจีนจากตำนานประวัติของเตียก๊วยเล่า กล่าวไว้ว่ามีค้างคาวเผือกตัวหนึ่งเสพแต่แสงอาทิตย์และแสงจันทร์อยู่เป็นพันปี จนกลายเป็นเซียนสามารถแปลงร่างเป็นผู้เฒ่าคนหนึ่งอาศัยอยู่แถบภูเขาตงจาง แขวงเมืองเหิงโจว ผู้คนต่างเรียกท่านว่า เตียก๊วยเล่าท่านก็ยินดีเพราะแปลว่า ผู้ชนะความแก่ เตียก๊วยเล่ามีลาเผือกตัวหนึ่งเป็นพาหนะ จะไปที่ไหนก็ขี่ลไป เมื่อถึงปลายทางก็เอาลามาพับเก็บเหมือนรูปลากระดาษ วิธีการขี่ลาก็ประหลาดคือขี่กลับหน้ากลับหลัง ผู้คนต่างกล่าวว่าเตียก๊วยเล่าไม่แก่ไม่เฒ่าท่านได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาจงเทียวหลายปี และมีผู้พบเห็นท่านที่ภูเขาใกล้เมืองเหิงโจวอีกด้วย
ในรัชสมัยฮ่องเต้ถังไถ่จง (หลี่ซื่อหมิน) แห่งราชวงศ์ถังทรงครองราชย์ พ.ศ. ๑๑๗๐ - ๑๑๙๒ ทรงมีรับสั่งให้ข้าหลวงไปตามเตียก๊วยเล่าเข้าเฝ้าหลายครั้ง แต่ก็ไม่สมพระราชประสงค์ด้วยท่านไม่อยากเข้าเฝ้า เช่นเมื่อข้าหลวงไปเชิญท่าน ท่านก็แสดงอาการป่วยชักกระตุกกะทันหันตายทันที พวก
ข้าหลวงก็เอาศพไปฝัง ถึงรัชสมัยพระนางบูเช็กเทียนทรงครองราชย์สมบัติระหว่าง พ.ศ. ๑๒๒๗ - ๑๒๔๘ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ไปตามเตียก๊วยเล่ามาเฝ้า ข้าหลวงจึงไปเชิญมาพอถึงศาลเจ้าโกวนึงท่านก็ล้มลงชักตายทันใด ช่วงนั้นเป็นฤดูร้อน ปรากฎว่าศพขึ้นอึดเร็วกว่าปกติมีหนอนแมลงวันเต็มไปหมด ข้าหลวงจึงรีบนำเอาไปฝังแล้วรีบเข้าเมืองหลวงฉางอานเพื่อกราบบังคมทูลให้ทรงทราบตามที่ได้พบเห็น แต่ในไม่ข้ามีคนเห็นเตียก๊วยเล่าเดินอยู่แถบชายป่า
ในรัชสมัยฮ่องเต้หลี่หลุงจี่ ทรงครองราชย์ พ.ศ.๑๒๕๕ - ๑๒๙๙ ในปีไคหยวนทรงมีรับสั่งให้ข้าหลวงชื่อปวยหวาไปเชิญเตียก๊วยเล่ามาเข้าเฝ้า เมื่อข้าหลวงไปถึงเมืองเหิงโจวพบเตียก๊วยเล่ากำลังชักดิ้นชักงอสิ้นลมทันใด ข้าหลวงจึงจัดการเอาศพใสโลงแล้วอ่านหนังสือรับสั่ง เตียก๊วยเล่าค่อย ๆ ฟื้นขึ้นแต่ไม่สามารถจะไปเข้าเฝ้ากับพวกข้าหลวงได้ พวกข้าหลวงจึงกลับไปกราบทูลให้ทรงทราบ ต่อมาฮ่องเต้ทรงมีรับสั่งให้ขุนนางสองคนคือ ซื่ออวี้ กับ หลูตง ให้ไปเชิญเตียก๊วยเล่ามาเข้าเฝ้าอีกเตียก๊วยเล่าเห็นว่าฮ่องเต้ได้เชิญไปหลายครั้งแล้ว แสดงว่าทรงมีความเชื่อถือตนจริง จึงได้เดินทางเข้าเมืองฉางอาน โปรดฯ ให้เตียก๊วยเล่าพักที่อาคารที่พักของพวกปุโรหิต ในขณะที่พวกขุนนางเฝ้าแทน ทรงมีรับสั่งถึงเรื่องเซียน แต่เตียก๊วยเล่าก็นิ่งเสียเมื่อถึงฤดูหนาว เตียก๊วยเล่าได้รับพระราชทานสุราจนมึนเมาจนเห็นไปว่าไม่ใช่สุราอย่างดีจึงทำให้ฟันเปราะ ท่านจึงให้คนใช้ไปหยิบยู่อี่สำหรับถือเข้าเฝ้าประจำตำแหน่งมาฝนกับยาแล้วเอาถูฟัน จนฟันขาวดุจหยกดังเดิม
วันหนึ่งเสด็จประพาสปาล่าสัตว์ ได้กวางมาตัวหนึ่ง จึงโปรดฯ ให้พนักงานห้องเครื่องจัดการเอากวางไปทำอาหารมาสวยและพระราชทานเลี้ยงผู้ติดตาม เตียก๊วยเล่าซึ่งเข้าเฝ้าอยู่ในที่นั้นด้วย จึงกราบทูลว่า กวางตัวนี้เป็นพาหนะของเซียนอายุยืนเป็นพันปี ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น คือ ฮ่องเต้อู่ตี้ (หลิวเฉ่อ) ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๔๐๓ - ๔๖๖ ได้เสด็จประพาสปาล่าสัตว์ เมื่อ พ.ศ. ๔๒๘ พวกบริพารจับได้กวางตัวนี้ พระองค์โปรดฯ ให้ปล่อยเสีย ด้วยทรงเมตตา ซึ่งเป็นพระคุณแก่กวางและเขียนผู้เป็นเจ้าของยิ่งนัก พระองค์จึงตรัสว่าตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นมาถึงขณะนี้ก็เป็นเวลาช้านาน ประมาณว่ากว่า ๗๐๐ ปีแล้ว และได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์หลายครั้ง เตียก๊วยเล่ามีหลักฐานอะไรจึงพูดเช่นนั้น เตียก๊วยเล่าจึงว่า กวางตัวนั้นมีป้ายทองเหลืองแขวนอยู่ที่เขาอันหนึ่ง เมื่อพวกตามเสด็จตรวจดูปรากฏว่ามีจริงแต่ตัวอักษรได้ลบเลอะเลือนอ่านแถบไม่ออก จึงโปรดฯ ให้ปล่อยกวางตัวนั้นไป แล้วจึงตรัสถามเตียก๊วยเล่าว่า ปีนั้นเป็นปีอะไรเตียก๊วยเล่าจึงกราบทูลถึงวันเดือนปีว่านับแต่นั้นมาได้ ๘๕๒ ปีแล้ว จึงรับสั่งให้โหรหลวงตรวจดู ปรากฎว่าตรงกัน ตั้งแต่นั้นมาฮ่องเต้เสวียนจงทรงเชื่อถือเตียก๊วยเล่ามากยังมีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ เอวียนหัวเซียน ชอบปฏิบัติธรรมเคร่งครัดเป็นไต้ซือถือบวชกินเจ ได้ศึกษาเล่าเรียนเวทมนตร์จากเซียนสององค์จนชำนาญ เมื่อราษฎรได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ จึงอาสาไปปราบพวกภูตผีปีศาจเหล่านั้นจนไม่กล้ามารบกวนอีก จนทราบถึงพระกรรณ ฮ่องเต้จึงโปรดฯให้รับราชการที่เมืองหลวง เขาปฏิเสธแต่ขอพักอยู่ในเมืองหลวงฉางอาน ขณะนั้นเตียก๊วยเล่าเฝ้าอยู่หน้าพระที่นั่งด้วย จึงตรัสถามเอวียนหัวเซียนว่า เตียก๊วยเล่าเป็นคนหรือเป็นเชียนเอวียนหัวเขียนจึงกราบทูลว่าหากตนพูดความจริงออกไปร่างกายของตนก็จะยังเกิดบิดเบี้ยวน่าขยะแขยงเจ็บปวดทรมานมาก จนกว่าพระองค์จะเสด็จไปหาเตียก๊วยเล่าโดยจะต้องทรงถอดมงกุฎและฉลองพระบาทออกก่อนแล้วทรงขอโทษเตียก๊วยเล่า ตนจึงจะหายเป็นปกติ พระองค์ก็ตกปากรับคำตามที่ขอ เอวียนหัวเซียนจึงเริ่มเล่าว่า สมัยโบราณหลายพันปีมาแล้วมีค้างคาวเผือกตัวหนึ่งเสพแต่แสงอาทิตย์และแสงจันทร์ จนสามารถแปลงกายมาเป็นมนุษย์ได้ คือเตียก๊วยเล่า เท่านั้นแหละเขาก็ล้มลงตึงชักกระตุกเลือดไหลออกมาตามทวารต่าง ๆ เมื่อเห็นดังนั้นพระองค์จึงทรงรีบถอดมงกุฎออกพร้อมทรงถอดฉลองพระบาทเสด็จเข้าไปหาเตียก๊วยเล่า พร้อมทรงขอโทษแทนเอวียนหัวเซียน เตียก๊วยเล่าจึงเสกเวทมนตร์เป่าไปที่ร่างของเอวียนหัวเขียนจนกลับคืนเป็นปกติ ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ทรงโปรดฯ เตียก๊วยเล่ามาก ทรงตั้งให้เป็นเต้าหยินชงเหียนผู้ยิ่งใหญ่และโปรดฯ ให้จิตรกรหลวงวาดภาพเตียก๊วยเล่าประดับไว้ที่จิบเฮียนอี้ และในปีไคหยวนที่ ๒๓ พ.ศ. ๑๒๗๘ ฮ่องเต้ถังเสวียนจงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าๆให้เตียก๊วยเล่าดำรงตำแหน่งขุนนางอาวุโสผู้ถือตราประทับเงินและริบบิ้นสีน้ำเงินรับผิดชอบสภาขุนนางของฮ่องเต้ ต่อมาเตียก๊วยเล่าถวายบังคมลากลับไปยังเมืองเหิงโจวในปี พ.ศ. ๑๒๘๕ ทรงมีรับสั่งให้เตียก๊วยเล่าเข้าเฝ้า พวกข้าหลวงจึงเดินทางไปยัง
ที่พักของท่านที่เมืองเหิงโจวแต่บังเอิญในขณะนั้นท่านป่วยหนักและถึงแก่อสัญกรรมอย่างกะทันหัน พวกข้าหลวงจึงจัดการนำศพใส่โลงเอาไปฝังก่อนฝังต่างสงสัยกันว่าทำไมโลงถึงเบากว่าปกติ จึงเปิดฝาโลงออกดู ปรากฏว่ามีแต่โลงเปล่า คณะเซียนได้รับเตียก๊วยเล่าไปเข้าเฝ้าไท่เสียงเหล่ากุงที่เขาหัวซาน และได้รับแต่งตั้งเป็นเซียนเตียก๊วยเล่าองค์ที่ ๔ เตียก๊วยเล่าเป็นเซียนแห่งความมั่นคงความมีอายุยืน สุขภาพดี จิตรกร
โอวาท องค์เตียก๊วยเล่า : ทำบุญอย่ายึดถือ
การทำบุญสร้างกุศล หากใจยังยึดติด ผลบุญนั้นจะไม่งอกเงย ทำบุญ ๕๐ สตางค์ แต่ทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ มีเงินอยู่เท่านี้ก็ทำเท่านี้ ผลบุญนั้นจะยิ่งใหญ่ แต่หากทำบุญด้วยเงิน ๑ ล้าน แต่จิตใจเฝ้าคิดวกวนกับเงิน ๑ ล้าน คิดว่าเงิน ๑ ล้านจะกลับมาหาเราสองล้าน ถ้าคิดอย่างนี้กุศลจะเบาบาง จึงอยากให้ทุกคนทำบุญโดยไม่ยึดติด บุญในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินก็ได้ มีเงินน้อยเราก็ลงแรงให้มาก เช่น เราเอาเงินมาสร้าง ๑,๐๐๐ บาทแล้วกลับไป แต่แม่ครัวมาลงแรงอาบเหงื่อต่างน้ำทำอาหารให้เรากินทุกมื้อ ถามว่า จิตใจของคนที่เอาเงินมาสร้างแต่ยังยืดติดอยู่ กับคนที่มาลงมือทำ คนไหนมีกุศลมากกว่ากัน...
หากเริ่มต้นด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ทุกอย่างก็จะเป็นกุศล...
คัดย่อข้อมูลจาก : หนังสือพิธีสถาปนาครบรอบ ๖๐ ปี มูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250