วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
พ.ศ. 2276 - พ.ศ. 2365
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ดำรงพระยศ พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2365
สมณุตตมาภิเษก พ.ศ. 2363 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สถิต วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
นิกาย มหานิกาย
ประสูติ 5 มกราคม พ.ศ. 2276
สิ้นพระชนม์ 4 กันยายน พ.ศ. 2363
พระชนมายุ 87 พรรษา
พระประวัติเบื้องต้น
สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษด้านวิปัสสนาธุระ เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ มีพระเกียรติคุณในทางบำเพ็ญสมถภาวนา ผู้คนนับถือมาก.
ในรัชกาลที่ 2 โปรดให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ครั้งยังทรงเป็นพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย กรุงเก่า ได้โปรดให้ย้ายมาอยู่วัดพลับ และต่อมาโปรดให้มาอยู่วัดใหม่ในที่ติดกับวัดพลับ สร้างเป็นพระอารามใหม่ ในรัชกาลที่ 3 จึงได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า วัดราชสิทธาราม ดังที่ปรากฏสืบมาจนบัดนี้
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นสมเด็จพระสังฆราช แล้วโปรดให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ พ.ศ. 2363 เมื่อทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น พระชนมายุได้ 88 พรรษาแล้ว ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ไม่ถึง 2 ปี ก็สิ้นพระชนม์ มีพระชนม์มายุได้ 87 ปี ด้วยเหตุที่ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือ โปรดให้ปั้นพระรูปบรรจุพระอัฐิ ประดิษฐานไว้ในกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่ง บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชา
“สมเด็จพระญาณสังวร” เป็นตำแหน่งพิเศษในยุครัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพรพุทธยอดฟ้าาจุฬาโลกมหาราช ทรงตั้งพระอาจารย์สุก ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ในราชทินนามว่า พระญาณสังวรเถร อันเป็นราชทินนามที่แสดงถึงความเป็นผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250