9.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)

โซนที่ ๗ สมเด็จพระสังฆราชฯ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

9.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)

องค์ที่ ๙

9.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2443

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

ดำรงพระยศ พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2442

สมณุตตมาภิเษก พ.ศ. 2436 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

สถิต วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

นิกาย ธรรมยุตนิกาย

ประสูติ พ.ศ. 2356

สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2442

พระชนมายุ 87 พรรษา

 

เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 8 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1175 ตรงกับ พ.ศ. 2356 ในรัชกาลที่ 2 โยมบิดาชื่อ จันท์ โยมมารดาชื่อ สุข   เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้บรรพชาเป็นสามเณรแต่ยังเยาว์ ในรัชกาลที่ 3 เดิมอยู่ที่วัดใหม่บางขุนเทียน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่วัดสังเวชวิศยาราม เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรม  ในพระราชวังบวรกับอาจารย์อ่อน (ฆราวาส) และกับโยมบิดาของพระองค์ท่านเอง ซึ่งเป็นอาจารย์ 

 

กระทั่งพระชนมายุได้ 18 ปี จึงได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ในคราวเดียวได้หมดทั้ง 9 ประโยค ได้เป็นเปรียญเอกแต่ยังทรงเป็นสามเณร (5) นับเป็นสามเณรองค์แรกที่เป็นเปรียญ 9 ประโยคในยุคกรุงรัตนโกสินทร์  ครั้นถึงปี พ.ศ. 2376 มีพระชนมายุครบ 20 ปี เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็อุปสมบท ณ วัดราชาธิวาส มีพระนามฉายาว่า ปุสฺโส  พระอุปัชฌาย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในการอุปสมบทครั้งนั้น คือพระสุเมธาจารย์ (เกิด) พระกรรมวาจาจารย์ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ท่านได้ลาสิกขาบทและมาอุปสมบทใหม่อีกครั้ง และทรงแปลพระปริยัติธรรมทั้ง 9 ประโยคอีก อันแสดงถึงคุณลักษณะพิเศษนี้ว่า “สังฆราช 18 ประโยค”  และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ มีพระราชทินนามว่า พระสาสนโสภณ ในเวลาต่อมา  ท่านได้แต่งเรื่องปฐมสมโพธิย่อ 3 กัณฑ์ ถวายเทศนาในวันวิสาขบูชา และปฐมสมโพธิพิสดาร สำหรับใช้เทศนาในวัด  พระนิพนธ์ต่างๆ เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร จนกระทั่งปัจจุบัน

 

เมื่อ พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ได้มีการตรวจชำระพระไตรปิฎกให้ครบถ้วนบริบูรณ์ แล้วพิมพ์เป็นอักษรไทย  โดยมีพระราชาคณะผู้ใหญ่ มีเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) ในการดำเนินสังคยานาครั้งนี้     เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับ

พระราชทาน สถาปนาเป็นกรณีพิเศษในราชทินนามที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ อันเป็นราชทินนามสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่ขณะที่ยังไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช  นับเป็นการพระราชทานเกียรติยศอย่างสูง   ปี พ.ศ. 2436 ในรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า เป็นสมเด็จพระสังฆราช ขณะพระชนม์มายุได้ 80 ปี สถิต ณ วัดราชประดิษฐ์

 

งานพระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) ได้แก่งานแปลพระสูตร  หนังสือเทศนาและเบ็ดเตล็ดอื่นๆ พระนิพนธ์เทศนา ใช้เป็นแบบอย่างกันมาจนถึงปัจจุบัน   ท่านได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ถวายพระมงคลวิเสสกถา  ต่อมาในรัชกาลที่ 5 จนตลอดพระชนม์ชีพของท่าน  ท่านเป็นผู้มีพระวินัยละเอียดลอออมาก เป็นพระเถระที่เชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก และทรงธรรมพระวินัยอย่างแท้จริง   เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ประชวรด้วยพระโรคบิดประกอบกับพระโรคชรา สิ้นพระชนม์ ปี พ.ศ. 2442 นับพระชมม์ได้ 87 ปี

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post