ปหาตัพพธรรม
ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ 2 คือ ปหานะ (ธรรมอันพึงละ, สิ่งที่จะต้องแก้ไขกำจัดทำให้หมดไป ว่าโดยต้นตอรากเหง้า ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา กล่าวคือธรรมจำพวกสมุทัยที่ก่อให้เกิดปัญหาเป็นสาเหตุของทุกข์ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า อกุศลทั้งปวง - Pahàtabba-dhamma: things to be abandoned, i.e. ignorance and craving for being)
- กรรม 3
- ตัณหา 3
- ปปัญจะธรรม 3
- อกุศลมูล 3
- อาสวะ 3
- อาสวะ 4
- ปฏิจจสมุปบาท 12
- ปัจจัย 24
กรรม 3 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม - Kamma: action; deed)
- กายกรรม (กรรมทำด้วยกาย, การกระทำทางกาย - Kàya-kamma: bodily action)
- วจีกรรม (กรรมทำด้วยวาจา, การกระทำทางวาจา - Vacã-kamma: verbal action)
- มโนกรรม (กรรมทำด้วยใจ, การกระทำทางใจ - Mano-kamma: mental action)
ตัณหา 3 (ความทะยานอยาก - Taõhà: craving)
- กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กามคุณ คือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า - Kàma-taõhà: craving for sensual pleasures; sensual craving)
- ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ, ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้ จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ - Bhava-taõhà: craving for existence)
- วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ, ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากให้ดับสูญ, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ - Vibhava-taõhà: craving for non-existence; craving for self-annihilation)
A.III.445; Vbh.365. |
องฺ.ฉกฺก.22/377/494; อภิ.วิ.35/933/494 |
[91] ปปัญจะ หรือ ปปัญจธรรม 3 (กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา - Papa¤ca: proliferation; diversification; diffuseness; mental diffusion)
- ตัณหา (ความทะยานอยาก, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอปรนเปรอตน, ความอยากได้ อยากเอา - Taõhà: craving; selfish desire)
- ทิฏฐิ (ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่างๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงายหรือโดยอาการเชิดชูว่าอย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น เป็นต้น ทำให้ปิดตัวแคบ ไม่ยอมรับฟังใครตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่นที่ไม่ถืออย่างตน, ความยึดติดในทฤษฎี ฯลฯ ถือความคิดเห็นเป็นความจริง - Diññhi: view; dogma; speculation)
- มานะ (ความถือตัว, ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ถือสูงถือต่ำ ยิ่งใหญ่เท่าเทียม หรือด้อยกว่าผู้อื่น, ความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่ - Màna: conceit)
ในคัมภีร์วิภังค์ เรียกปปัญจะ 3 นี้เป็น ฉันทะ (คือตัณหา) มานะ ทิฏฐิ
Nd1 280; Vbh.393; Nett. 37–38. |
ขุ.ม.29/505/337; อภิ.วิ.35/1034/530; เนตฺติ. 56–57. |
อกุศลมูล 3 (รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว - Akusala-måla: unwholesome roots; roots of bad actions)
- โลภะ (ความอยากได้ - Lobha: greed)
- โทสะ (ความคิดประทุษร้าย - Dosa: hatred)
- โมหะ (ความหลง - Moha: delusion)
D.III.275; It.45. |
ที.ปา.11/393/291; ขุ.อิติ.25/228/264 |
อาสวะ 3 (สภาวะอันหมักดองสันดาน, สิ่งที่มอมพื้นจิต, กิเลสที่ไหลซึมซ่านไปย้อมใจเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ - âsava: mental intoxication; canker; bias; influx; taint)
- กามาสวะ (อาสวะคือกาม - Kàmàsava: canker of sense-desire)
- ภวาสวะ (อาสวะคือภพ - Bhavàsava: canker of becoming)
- อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา - Avijjàsava: canker of ignorance)
D.II.81; S.IV.256. |
ที.ม.10/76/96; สํ.สฬ.18/504/315. |
อาสวะ 4 (âsava: mental intoxication; canker)
- กามาสวะ (อาสวะคือกาม - Kàmàsava: canker of sense-desire)
- ภวาสวะ (อาสวะคือภพ - Bhavàsava: canker of becoming)
- ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ - Diññhàsava: canker of views or speculation)
- อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา - Avijjàsava: canker of ignorance)
ในที่มาส่วนมาก โดยเฉพาะในพระสูตร แสดงอาสวะไว้ 3 อย่าง โดยสงเคราะห์ทิฏฐาสวะเข้าในภวาสวะ (ม.อ.1/93)
Vbh.373. |
อภิ.วิ.35/961/504. |
ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ 12 (การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น - Pañ icca-samuppàda: the Dependent Origination; conditioned arising)
1.–2. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี (Dependent on Ignorance arise Kamma-Formations.)
- สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี (Dependent on Kamma-Farmations arises Consciousness.)
- วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี (Dependent on Consciousness arise Mind and Matter.)
- นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี (Dependent on Mind and Matter arise the Six Sense-Bases.)
- สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี (Dependent on the Six Sense-Bases arises Contact.)
- ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา จึงมี (Dependent on Contact arises Feeling.)
- เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี (Dependent on Feeling arises Craving.)
- ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี (Dependent on Craving arises Clinging.)
- อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี (Dependent on Clinging arises Becoming.)
- ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี (Dependent on Becoming arises Birth.)
12. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี (Dependent on Birth arise Decay and Death.)
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม
(There also arise sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ.
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
(Thus arises this whole mass of suffering.)
องค์ (factors) หรือหัวข้อ 12 นั้น มีความหมายโดยสังเขป ดังนี้
- อวิชชา (Avijjà: ignorance) ความไม่รู้ คือไม่รู้ในอริยสัจจ์ 4 หรือตามนัยอภิธรรมว่า อวิชชา 8
- สังขาร (Saïkhàra: kamma-formations) สภาพที่ปรุงแต่ง ได้แก่ สังขาร 3 หรือ อภิสังขาร 3
- วิญญาณ (Vi¤¤àõa: consciousness) ความรู้แจ้งอารมณ์ ได้แก่ วิญญาณ 6
- นามรูป (Nàma-råpa: mind and matter) นามและรูป ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ หรือตามนัยอภิธรรมว่า นามขันธ์ 3 + รูป : ขันธ์ 5 (ข้อ 2, 3, 4); รูป 21, 28; มหาภูต หรือ ภูตรูป 4; อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24; รูป 22
- สฬายตนะ (Saëàyatana: six sense-bases) อายตนะ 6 ได้แก่ อายตนะภายใน 6
- ผัสสะ (Phassa: contact) ความกระทบ, ความประจวบ ได้แก่ สัมผัส 6
- เวทนา (Vedanà: feeling) ความเสวยอารมณ์ ได้แก่ เวทนา 6
- ตัณหา (Taõhà: craving) ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา 6 มีรูปตัณหา เป็นต้น (ตัณหา ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสทางกาย และในธรรมารมณ์)
- อุปาทาน (Upàdàna: clinging; attachment) ความยึดมั่น ได้แก่ อุปาทาน 4
- ภพ (Bhava: becoming) ภาวะชีวิต ได้แก่ ภพ 3 อีกนัยหนึ่งว่า ได้แก่ กรรมภพ (ภพ คือกรรม - active process of becoming ตรงกับ อภิสังขาร 3 ) กับ อุปปัตติภพ (ภพคือที่อุบัติ - rebirth-process of becoming ตรงกับ ภพ 3 )
- ชาติ (Jàti: birth) ความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะ
- ชรามรณะ (Jarà-maraõa: decay and death) ความแก่และความตาย ได้แก่ ชรา (ความเสื่อมอายุ, ความหง่อมอินทรีย์) กับมรณะ (ความสลายแห่งขันธ์, ความขาดชีวิตินทรีย์)
ทั้ง 12 ข้อ เป็นปัจจัยต่อเนื่องกันไป หมุนเวียนเป็นวงจร ไม่มีต้นไม่มีปลาย เรียกว่า ภวจักร (วงล้อหรือวงจรแห่งภพ - Bhava-cakka: wheel of existence) และมีข้อควรทราบเกี่ยวกับภวจักรอีกดังนี้
ก.อัทธา 3 (Addhà: periods; times) คือ กาล 3 ได้แก่
1) อดีต = อวิชชา สังขาร
2) ปัจจุบัน = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
3) อนาคต = ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)
ข. สังเขป หรือ สังคหะ 4 (Saïkhepa or Saïgaha: sections; divisions) คือ ช่วง หมวด หรือ กลุ่ม 4 ได้แก่
1) อดีตเหตุ = อวิชชา สังขาร
2) ปัจจุบันผล = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
3) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหา อุปาทาน ภพ
4) อนาคตผล = ชาติ ชรามรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)
ค. สนธิ 3 (Sandhi: links; connection) คือ ขั้วต่อ ระหว่างสังเขปหรือช่วงทั้ง 4 ได้แก่
1) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล
2) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ
3) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล
ง. วัฏฏะ 3 ดู [105] วัฏฏะ 3
จ. อาการ 20 (âkàra: modes; spokes; qualities) คือ องค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ (causes) และส่วนผล (effects) ได้แก่
1) อดีตเหตุ 5 = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
2) ปัจจุบันผล 5 = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
3) ปัจจุบันเหตุ 5 = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
4) อนาคตผล 5 = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
อาการ 20 นี้ ก็คือ หัวข้อที่กระจายให้เต็ม ในทุกช่วงของสังเขป 4 นั่นเอง
ฉ. มูล 2 (Måla: roots) คือ กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่
1) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึงเวทนาในช่วงปัจจุบัน
2) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึงชรามรณะในช่วงอนาคต
พึงสังเกตด้วยว่า การกล่าวถึงส่วนประกอบของภวจักรตามข้อ ก. ถึง ฉ. นี้ เป็นคำอธิบายในคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น
การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท ให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบายอริยสัจจ์ข้อที่ 2 (สมุทัยสัจจ์) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาทที่แสดงแบบนี้ เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท (direct Dependent Origination)
การแสดงในทางตรงข้ามกับข้างต้นนี้ เป็น นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้อธิบายอริยสัจจ์ข้อที่ 3 (นิโรธสัจจ์) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท (reverse Dependent Origination ซึ่งความจริงก็คือ Dependent Extinction นั่นเอง) แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลายสืบทอดกันไป ตัวบทของปฏิจจสมุปบาทแบบปฏิโลมนี้ พึงเทียบจากแบบอนุโลมนั่นเอง เช่น
1.–2. อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือสังขารจึงดับ
(Through the total fading away and cessation of ignorance, cease kammaformations.)
- สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
(Through the cessation of kamma-formations, ceases consciousness.)
ฯลฯ
- ชาตินิโรธา ชรามรณํ เพราะชาติดับ ชรามรณะ (จึงดับ)
(Through the cessation of birth, cease decay and death.)
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
(Also cease sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ.
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
(Thus comes about the cessation of this whole mass of suffering.)
นี้เป็น อนุโลมเทศนา ของปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ส่วน ปฏิโลมเทศนา ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรา มรณะ เป็นต้น ดับ เพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ อย่างเดียวกับในอนุโลมปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย - Idappaccayatà: specific conditionality) ธรรมนิยาม (ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ - Dhammaniyàma: orderliness of nature; natural law) และ ปัจจยาการ (อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน - Paccayàkàra: mode of conditionality; structure of conditions) เฉพาะชื่อหลังนี้เป็นคำที่นิยมใช้ในคัมภีร์อภิธรรม และคัมภีร์รุ่นอรรถกถา.
Vin.I.1; S.II.1; Vbh.135; Vism.517; Comp.188 |
วินย.4/1/1; สํ.นิ.16/1/1; อภิ.วิ.35/274/185; วิสุทฺธิ.3/107; สงฺคห.45. |
ปัจจัย 24 (ลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไข ให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง - Paccaya: condition; mode of conditionality or relation)
- เหตุปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นเหตุ - Hetu-paccaya: root condition)
- อารัมมณปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ - ârammaõa-paccaya: object condition)
- อธิปติปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นเจ้าใหญ่ - Adhipati-paccaya: predominance condition)
- อนันตรปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องไม่มีช่องระหว่าง - Anantara-paccaya: immediacy condition)
- สมนันตรปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที - Samanantara-paccaya: contiguity condition)
- สหชาตปัจจัย (ปัจจัยโดยเกิดร่วมกัน - Sahajàta-paccaya: connascence condition)
- อัญญมัญญปัจจัย (ปัจจัยโดยอาศัยซึ่งกันและกัน - A¤¤ama¤¤a-paccaya: mutuality condition)
- นิสสยปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย - Nissaya-paccaya: dependence condition)
- อุปนิสสยปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นเครื่องหนุนหรือกระตุ้นเร้า - Upanissaya-paccaya: decisive-support condition; inducement condition)
- ปุเรชาตปัจจัย (ปัจจัยโดยเกิดก่อน - Purejàta-paccaya: prenascence condition)
- ปัจฉาชาตปัจจัย (ปัจจัยโดยเกิดทีหลัง - Pacchàjàta-paccaya: postnascence condition)
- อาเสวนปัจจัย (ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน - âsevana-paccaya: repetition condition)
- กรรมปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง - Kamma-paccaya: kamma condition)
- วิปากปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นวิบาก - Vipàka-paccaya: kamma-result condition)
- อาหารปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นอาหาร คือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง - âhàra-paccaya: nutriment condition)
- อินทรียปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นเจ้าการ - Indriya-paccaya: faculty condition)
- ฌานปัจจัย (ปัจจัยโดยภาวะจิตที่เป็นฌาน - Jhàna-paccaya: absorption condition)
- มรรคปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นมรรค - Magga-paccaya: path condition)
- สัมปยุตตปัจจัย (ปัจจัยโดยประกอบกัน - Sampayutta-paccaya: association condition)
- วิปปยุตตปัจจัย (ปัจจัยโดยแยกต่างหากกัน - Vippayutta-paccaya: dissociation condition)
- อัตถิปัจจัย (ปัจจัยโดย[ต้อง]มีอยู่ - Atthi-paccaya: presence condition)
- นัตถิปัจจัย (ปัจจัยโดย[ต้อง]ไม่มีอยู่ - Natthi-paccaya: absence condition)
- วิคตปัจจัย (ปัจจัยโดย[ต้อง]ปราศไป - Vigata-paccaya: disappearance condition)
- อวิคตปัจจัย (ปัจจัยโดย[ต้อง]ไม่ปราศไป - Avigata-paccaya: non-disappearance condition)
ปัจจัย 24 นี้ เป็นสาระของคำอธิบายทั้งหมดในคัมภีร์ปัฏฐานแห่งพระอภิธรรมปิฎก คือ พระไตรปิฎกบาลี 6 เล่ม ตั้งแต่เล่ม 40 ถึงเล่ม 45