Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๗๕

พระชตุกัณณีเถระ

ท่านพระชตุกัณณีเถระ เป็นบุตรพราหมณ์ ในนครสาวัตถี เมื่อมีอายุพอสมควร ที่จะศึกษาเล่าเรียนได้แล้ว ได้ไปศึกษาศิลปวิทยาอยู่ในสำนักของพราหมณ์พาวรีผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นกาลต่อมา พราหมณ์พาวรี มีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงลาพระเจ้าปเสนทิโกศล ออกจากตำแหน่งปุโรหิต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาต ได้ออกบวชเป็นชฎิล ประพฤติพรต ตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งตนเป็นคณาจารย์ใหญ่สั่งสอนไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี
ชตุกัณณีมาณพออกบวชติดตามไปศึกษาศิลปวิทยาอยู่ด้วย ชตุกัณณีเป็นผู้หนึ่งในจำนวน 16 คนนั้น จึงพร้อมกันไปเฝ้าพระศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ ทูลขอโอกาสถาม ชตุกัณณีมาณพได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบเอ็ดว่า
" ข้าพระพุทธเจ้า ได้ทราบว่า พระองค์ไม่ใช่ผู้ใคร่กาม ข้ามพ้นห้วงกิเลสเสียแล้ว จึงมาเฝ้าเพื่อจะทูลถามพระองค์ ผู้หากิเลสกามมิได้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีปัญญาดุจดวงตาอันเกิด พร้อมกับตรัสรู้ จงแสดงธรรม สำหรับระงับกิเลสแก่ข้าพระพุทธเจ้า เหตุว่าพระองคีรส ผจญกิเลสกามให้แห้งหายได้ ดุจพระอาทิตย์ อันส่องแผ่นดินให้แห้งด้วยรัศมี ขอพระองค์ ผู้มีปัญญากว้างขวาง ราวกับแผ่นดิน ตรัสบอกธรรม เป็นเครื่องละชาติชรา ในอัตภาพนี้ แก่ข้าพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาน้อยเถิด " 
พระบรมศาสดา ทรงพยากรณ์ว่า ท่านจงกำจัด ความกำหนัดในกามให้หมดสิ้นไป เห็นความหมดไป แห่งกามเป็นเกษมเถิด กิเลสเครื่องกังวล ที่ท่านยึดถือไว้ด้วย ตัณหาและทิฏฐิ ซึ่งควรจะละเสีย อย่าเสียดแทงใจของท่านได้ กังวลใด มีแล้วในปางก่อน ท่านจงให้กังวลนั้น เหือดแห้งเสีย กังวลในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอากังวล ในท่ามกลาง ท่านจักเป็นคนสงบ ระงับกังวลได้ อาสวะ (กิเลส) ซึ่งเป็นเหตุถึงอำนาจมัจจุราช ของชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม โดยอาการทั้งปวง ก็มีไม่ได้
ในที่สุดแห่งการตอบปัญหา ชตุกัณณีมาณพ ได้บรรลุพระอรหัตผล (ก่อนอุปสมบท) เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์ ชตุกัณณีมาณพ พร้อมด้วยมาณพสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post