Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๑๗

พระมหากัจจายนเถระ

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านพระมหากัจจายนเถระ มาบังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ชื่อว่า กัญจนโคตร หรือ กัจจายนโคตร ปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นแล้ว ได้เรียนจบไตรเพท เมื่อบิดาเสียชีวิตแล้วได้รับตำแหน่งเป็นปุโรหิตแทนบิดา   กัจจายนโคตรปุโรหิตพร้อมด้วยบริวาร 7 คน พรกันไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสเทศนาสั่งสอน เมื่อจบเทศนา ได้บรรลุพระอรหันต์พรัอมกันทั้ง 8 คน แล้วจึงทูลขออุปสมบท  พระบรมศาสดา ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา     พระมหากัจจายนเถระเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความแห่งคำย่อให้พิสดาร เพื่อภิกษุทั้งหลายที่ไม่มีโอกาสทูลถามเนื้อความที่พระบรมศาสดาทรงตรัสโดยย่อ  ด้วยเหตุนี้  ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัส ที่ทรงตรัสโดยย่อให้พิสดาร (วิตฺถาเรน อตฺถํ วิภชนฺตานํ)

 

ท่านมหากัจจายนะ ท่านได้ทูลขอให้พระองค์ทรงแก้ไขพระพุทธบัญญัติบางข้อ ซึ่งขัดข้องต่อภูมิประเทศ เช่น เมื่อครั้งท่านพำนักอยู่ ณ ภูเขาชื่อว่า ปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท  5 ข้อด้วยกันคือ 

  1. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยภิกษุน้อยกว่า 10 รูป ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า “ดูกรภิกษุ เราอนุญาตการอุปสมบทในปัจจันตชนบทด้วยสงฆ์มีพระวินัยธรเป็นที่ห้า” (ด้วยสงฆ์ 5 รูป)
  2. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ ในปัจจันตชนบท” 
  3. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอาบน้ำเป็นนิตย์ ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ ในปัจจันตชนบท” (ในมัชฌิมประเทศ คือในเมือง 15 วันภิกษุอาบน้ำได้ครั้งหนึ่ง)
  4. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีเครื่องลาด (ที่ปูนั่ง) ที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น บริบูรณ์ดีเหมือนมัชฌิมชนบท ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตเครื่องลาดทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะหนังแกะ เป็นต้น”
  5. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีภิกษุน้อย พวกมนุษย์ทั้งหลายย่อมถวายจีวร แก่ภิกษุผู้จาริกไปภายนอกสีมา ด้วยคำว่า “พวกข้าพเจ้าถวายจีวรผืนนี้ แก่ภิกษุชื่อนี้” เมื่อพวกเธอเหล่านั้นกลับมาแล้ว พวกภิกษุในวัด แจ้งความให้พวกเธอทราบ พวกเธอรังเกียจ ไม่ยินดีรับ ด้วยเข้าใจเสียว่าผ้านั้นเป็นสิสสัคคียะ  ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงตรัสบอก การปฏิบัติในจีวรเช่นนั้น ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้ภิกษุยินดี รับจีวรที่ทายกถวายลับหลังนั้นได้ ผ้ายังไม่ถึงมือภิกษุตราบใด จะนับว่าเธอเป็นผู้มีสิทธิ์ในผ้านั้นเต็มที่ยังไม่ได้ตราบนั้น”

มธุรสูตร มีความเกี่ยวข้องกับพระมหากัจจายนเถระ ที่ได้ชื่อเช่นนั้น เพราะกล่าวถึง พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ซึ่งทรงถามพระมหากัจจยนเถระในเรื่องวรรณะ  และได้รับคำตอบว่า วรรณะ 4 เหล่านั้น ไม่ต่างอะไรกัน วรรณะใดประพฤติปฏิบัติดี ก็จะได้ความนับถือ ความคุ้มครองรักษา เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แต่ถ้าวรรณะใดประพฤติอกุศลกรรม ก็จะพบแต่ความมรณะสูอบายเสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ  ท่านพระมหากัจจายนะทูลตอบแล้ว แสดงวรรณะสี่เหล่าว่าไม่ต่างกัน ครั้นพระเจ้ามธุรราชได้สดับแล้วก็เกิดความเลื่อมใส แสดงพระองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถรเจ้ากับพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ ท่านพระมหากัจจายนะ อยู่มาถึงภายหลังแต่พุทธปรินิพพาน ท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ปรินิพพาน

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post