Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๔๙

พระรัฏฐปาลเถระ

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านพระรัฏฐปาล เป็นบุตรของรัฏฐปาลเศรษฐี ผู้เป็นหัวหน้าในหมู่ชน ชาวถุลลโกฏฐิตนิคม แคว้นกุรุ 
สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดา เสด็จจาริกไปในแคว้นกุรุ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ บรรลุถึงถุลลโกฏฐิตนิคม ชาวนิคมได้ทราบว่า พระบรมศาสดาเสด็จมาจึงพากันมาเข้าไปเฝ้าบางพวกถวายบังคม พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ให้เกิดความเลื่อมใสแล้วรัฏฐปาละเกิดความเลื่อมใสใคร่จะบวชจึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาทูลขอบรรพชา ครั้นได้ทราบว่าพระบรมศาสดา ไม่ทรงบวชกุลบุตร ที่มารดาบิดาไม่อนุญาต รัฏฐปาละ ก็พูดอ้อนวอนเป็นหลายครั้ง มารดาบิดาไม่ยอม รัฏฐปาละเสียใจ ลงนอนไม่ลุกขึ้นอดอาหารเสียไม่กินคิดว่าจักตายในที่นี้หรือจักบวชเท่านั้น   บิดามารดาของรัฏฐปาละจึงขอให้สหายรัฏฐปาละมาช่วยพูด  และสรุปได้ว่าหากรัฏฐปาละบวชแล้ว ขอให้กลับมาเยี่ยมบ้าง    เมื่อทราบว่า มารดาบิดาอนุญาตแล้ว ดีใจลุกขึ้นเช็ดตัว แล้วอยู่บริโภคอาหารพอร่างกาย มีกำลังไม่กี่วันแล้ว ไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลว่าบิดามารดาอนุญาตแล้ว พระองค์ก็โปรดให้บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา  ครั้นพระรัฏฐปาละ บวชแล้วไม่นาน ประมาณกึ่งเดือน พระบรมศาสดา เสด็จจากถุลลโกฏฐิตนิคม ไปประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ส่วนพระรัฏฐปาละ ตามเสด็จไปด้วย ท่านตั้งอยู่ในความไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสนา ได้สำเร็จพระอรหัตผล ถึงที่สุดของพรหมจรรย์แล้ว ถวายบังคมลา ออกจากสาวัตถี เที่ยวจาริกไปถึงถุลลโกฏฐิตนิคมพักอยู่ที่มิคจิรวันพระราชอุทยานของพระเจ้าโกรัพยะซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินกุรุ ในเวลาเช้า ท่านเข้าไปบิณฑบาตในนิคมนั้น จนถึงที่ใกล้เรือนของท่าน นางทาสีเห็นท่านแล้ว ก็จำได้ จึงบอกเนื้อความนั้น ให้แก่มารดาบิดาของท่านทราบ มารดาบิดาของท่าน จึงได้นิมนต์ท่านไปฉันในเรือน ในวันรุ่งขึ้น แล้วอ้อนวอน ให้ท่านกลับมาครอบครองสมบัติอีก ท่านก็ไม่สมประสงค์ เมื่อท่านรัฏฐปาละฉันเสร็จแล้วก็

กล่าวคาถาอนุโมทนาพอเป็นทางให้เกิดสังเวชในร่างกายแล้วจึงกลับมิคจิรวัน  ส่วนพระเจ้าโกรัพยะ เสด็จไปประพาสพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นรัฏฐปาละ ทรงจำได้ เพราะทรงรู้จักแต่เดิมมา เสด็จเข้าไปใกล้ ตรัสปราศรัยและประทับ ณ ราชอาสน์ ตรัสถามว่า รัฏฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อมมี 4 อย่าง ที่คนบางจำพวก ต้องประสบเข้าแล้ว จึงออกบวช คือ แก่ชรา, เจ็บ, สิ้นโภคทรัพย์, สิ้นญาติ ความเสื่อม 4อย่างนี้ ไม่มีแก่ท่าน ท่านรู้เห็น หรือได้ฟังอย่างไร จึงได้ออกบวช   ท่านทูลว่า มหาบพิตร มีอยู่ ธรรมุทเทศ (ธรรมที่แสดงขึ้นเป็นหัวข้อสี่ข้อ) ที่พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นผู้รู้เห็น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบทรงแสดงขึ้นแล้วจึงออกบวช คือข้อที่หนึ่ง  โลกคือหมู่สัตว์ อันชราเป็นตัวนำเข้าไปใกล้ความตาย ไม่ยั่งยืนข้อที่สอง ว่าโลกคือหมู่สัตว์ไม่มีผู้ป้องกันไม่เป็นใหญ่จำเพาะตน ข้อที่สาม ว่า โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ ตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไปข้อที่สี่ ว่าโลกคือหมู่สัตว์พร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่มเป็นทาสแห่งตัณหาครั้นท่านพระรัฏฐปาละ ทูลเหตุที่ตนออกบวช แก่พระเจ้าโกรัพยะอย่างนี้แล้ว พระมหากษัตริย์ ก็ทรงเลื่อมใส ตรัสอนุโมทนาธรรมีกถา แล้วเสด็จกลับไป
อาศัยคุณที่ท่าน เป็นผู้บวชด้วยศรัทธามาแต่เดิม และกว่าจะบวชได้ ก็แสนยากลำบากนัก พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องว่า เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้บวชด้วยศรัทธา (สทฺธาปพฺพชิตานํ)

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post