Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)

zSpecial

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)

พระราชสังวรญาณ นามเดิม พุธ อินทรหา ฉายา ฐานิโย (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 — 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542) เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา และวิปัสสนาจารย์สายพระป่าในประเทศไทยลูกศิษย์องค์สุดท้ายของพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) ท่านกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก และในช่วงวัยเด็ก ท่านมักจะมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่มีนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่น และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมในขณะอยู่ในเพศบรรพชิต

ประวัติ

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านมีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา ท่านเกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ณ บ้านหนองหญ้าเส้ง ตำบลสันประดู่ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา ครอบครัวมีอาชีพทำนาทำไร่ ในช่วงอายุได้ 4 ขวบ มารดาได้ถึงแก่กรรม บิดามีความเสียใจเป็นอันมากจึงนำท่านย้ายมาอยู่บ้านเกิดของบิดาที่ หมู่บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

อุปสมบท

ในช่วงวัยเยาว์ ท่านได้ออกศึกษาหาความรู้ ในโรงเรียนประชาบาลวัดไทรทอง ท่านได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จึงได้ลาออกมาแล้วบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2479 เมื่อมีอายุได้ 15 ปี ที่วัดอินทสุวรรณ บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมี ท่านพระครูวิบูลย์ธรรมขันธ์ เจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดิน เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์ เป็นพระบรรพชาจารย์

เรียนรู้ธรรม

หลังจากบรรพชาแล้ว ท่านก็อาศัยอยู่กับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์ นั่นเอง ท่านได้รับเมตตา จากพระอาจารย์ให้ได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมด้วย และในพรรษาแรกนี้เอง สามเณรพุธสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเริ่มรับการฝึกอบรมด้าน ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปีพ.ศ. 2483 ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้พาหลวงพ่อไปฝากตัวเป็นศิษย์พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) ณ วัดปทุมวนาราม (วัดสระปทุม) กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลวงพ่อได้จำพรรษาเรื่อยมาจนอายุครบบวช 21 ปี จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ณ วัดแห่งนี้ หลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจช่วยงานพระศาสนาตลอดมา และในช่วงสงครามแปซิฟิก ท่านได้อพยพกลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี และท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนั้นจนถึงปี พ.ศ. 2489 ระหว่างนั้นท่านเกิดอาพาธเป็นวัณโรคอย่างหนัก ต่อมาท่านได้พบกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และท่านก็ได้ช่วยรักษาโดยการสอนให้เพ่งอาการ 32 โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ทั้งยัง คอยให้กำลังใจกับท่านตลอดเวลา จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2513 ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน ในระยะเวลาที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างไม่หยุดยั้ง และทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายธรรม สร้างคุณประโยชน์ต่อศาสนามากมาย และได้สร้างโรงเรียนราชอุปถัมภ์ สร้างอาคารให้เด็กนักเรียน มอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงเรียน ตลอดจนหน่วยงาน ราชการต่าง ๆ - นอกจากนี้ท่านยังช่วยจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลเสมอ ๆ - อีกทั้งยังมอบทุนสนับสนุนการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา - รวมทั้งมอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงพยาบาลต่าง ๆ อีกด้วย

 

ละสังขาร

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริอายุได้ 78 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) ไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ณ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ตำแหน่งทางคณะสงฆ์

พ.ศ. 2495 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. 2496 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. 2500 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. 2511 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

พ.ศ. 2513 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

สมณศักดิ์

พ.ศ. 2500 เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูพุทธิสารสุนทร

5 ธันวาคม พ.ศ. 2512 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ เจ้าคณะจังหวัด​ ที่ พระชินวงศาจารย์ สาสนภารพินิจ ธรรมิกคณิสสร

5 ธันวาคม พ.ศ. 2527 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ​ฝ่าย​วิปัสสนา​ธุระ​ ​ที่ พระภาวนาพิศาลเถร

12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็น พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสังวรญาณ ปฏิภาณพิพัฒนวิสิฏฐ์ ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]ภายหลังได้รับพระราชทาน​พัดยศเป็นฝ่ายวิปัสสนา​ธุระ

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post