Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ 觀音菩薩 (เจ้าแม่กวนอิม)

โซนที่ ๙ มหายาน

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ 觀音菩薩 (เจ้าแม่กวนอิม)

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ 觀音菩薩 (เจ้าแม่กวนอิม)

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

เจ้าแม่กวนอิม ( 觀音菩薩 )

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ จีนเรียกว่า พระกวนอิมพู่สัก หรือ พระกวนจื่อจ๋ายพู่สัก เป็นพระโพธิสัตว์แห่งเมตตากรุณาของลัทธิมหายาน สรรพสัตว์ใดที่ตกอยู่ในห้วงแห่งทุกข์ หากได้สวดภาวนาเปล่งเสียงนมัสการว่า “นมะตัสไมอารยาวโลกิเตศวระ โพธิสัตวะ มหาสัตสวะยะ” ด้วยน้ำจิตเลื่อมใสมั่นคงไม่แปรผันแล้วพระโพธิสัตว์ก็จักทรงสำแดงอานุภาพปลดเปลื้องทุกข์ภัยให้พ้นไปได้ จักทรงอำนวยความสุขสวัสดีตามเจตจำนงค์ให้สำเร็จได้ ฉะนั้น สาธุชนพึ่งหมั่นสวดสาธยายถึงพระองค์เป็นนิตย์ อย่าได้ว่างเว้น

พระอวโลกิเตศวรทรงอวตารแบ่งภาคเพื่อโปรดสัตว์หลายปาง ปางที่ปรากฎแพร่หลายมาก อาทิเช่น ปางเป็นพระเศวตัมพรโพธิสัตว์ปางเป็นพระสหัสสหัตถ์สหัสสเนตรโพธิสัตว์ปางเป็นพระเอกาทศมุนีโพธิสัตว์ ปางเป็นพระอโมฆปาสพโพธิสัตว์ ปางเป็นพระหั”ครีวะโพธิสัตว์ ปางเป็นพระปัทมปาณีโพธิสัตว์ ฯลฯเป็นต้น ภาคต่างๆ เหล่านี้แสดงออกในรูปบุรุษก็มี สตรีก็มี และเป็นเทพยดาสมณะก็มี ทั้งนี้สุดแต่สัตว์ อันพระองค์จะโปรดอยู่ในสถานะใดก็ทรงสำแดงปางเหล่านั้นให้ปรากฏ ส่วนพระอริยาบถในปางต่างๆ ก็มีทั้งท่าสมาธิ ท่าประทับสิงหาสน์ ท่ายืน ฯลฯ พระกรก็ทรงเทพศาสตราบ้าง ทรงเครื่องทิพยบริขารอื่นๆ เช่น พวงประคำกุณฑีทิพย์บ้าง ทั้งหมดแม้จะอยู่ในรูปลักษณะแตกต่างกันมาก ปางพระกวนอิมที่อุ้มเด็กนั้นเรียกกันว่า ประทานบุตร พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ที่เปี่ยมล้นด้วยมหากรุณาธิคุณและมหาเมตตา ผู้ใดขอพรจากพระองค์ พระองค์ก็จะประทานพรนั้นให้สมดั่งปรารถนาทุกประการ หากท่านใดขอพรต้องการบุตรที่ดี พร้อมบริบูรณ์ด้วยคุณงามความดี พระองค์ก็จะประทานพรนั้นตามที่ขอจากพระองค์ อีกประการหนึ่ง อันมีความหมายถึงที่พระองค์ทรงพระเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งปวงดั่งมารดามอบความรักเอ็นดูต่อบุตร ก็เป็นทิพยประภาพ ซึ่งพระอวโลกิเตศวรเจ้าทรงสำแดงออกไป

อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นชื่อพระโพธิสัตว์องค์สำคัญมากในมหายาน เป็นที่นับถือกันอย่างทั่วถึงชื่ออวโลกิเตศวรประกอบด้วยคำสันสกฤต ๒ คำ คือ อวโลกิต และ อีศวร นักปราชญ์ต่างๆ แปลชื่อนี้ต่างๆ กันหลายนัย ดังนี้ พระผู้เป็นใหญ่ที่เราเห็น เจ้าแห่งการเห็นพระเจ้าที่เราเห็น พระผู้เป็นใหญ่ที่เราเห็น ที่ปรากฎให้เห็นและที่เห็นได้ ณ ที่ทุกแห่งหน พระผู้เป็นใหญ่ที่มองเห็นจากที่สูง พระผู้เป็นใหญ่ผู้มองดูจากที่สูง (เพราะในภาพปั้นหรือแกะสลัก พระอวโลกิเตศวรมีภาพพระอมิตาภพุทธะลอยอยู่บนพระเศียร) พระผู้เป็นใหญ่ผู้ชำเลืองแลดูด้วยความกรุณา แต่คำแปลทั้งหมดนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องตรงกัน

ในพระสูตรมหายานรุ่นหลัง เช่น สัทธรรมปุณทริกสูตรและอมิตายุรธยานสูตร เป็นต้น ยกย่องพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์องค์อื่นๆ ทั้งหมด ในสหัสสธารณีกล่าวว่าท่านเป็นพระสัจธรรมโชติพุทธเจ้าแต่กลับมาประกอบพระจริตในทางโพธิสัตว์มรรค

มหายานถือว่า ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ประกอบด้วยมหากรุณาและมหาเมตตา ถ้าใครสวดนามท่านก็จะได้สิ่งที่ตนปรารถนาทุกประการ การบูชาพระอวโลกิเตศวรปฏิบัติกันแพร่หลายในประเทศจีน พุทธศาสนิกชนชาวจีนถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่สำคัญที่สุดและเป็นผู้ช่วยสรรพสัตว์จากความชั่ว ความทุกข์และวินาศภัยต่างๆ และไม่เรียกชื่อท่านในชื่อภาษาสันสกฤต แต่ชื่อในภาษาจีนเองก็สับสนอยู่ ชื่อท่านที่ใช้อยู่ในภาษาจีนมีอยู่ ๒ ชื่อ ซึ่งแพร่หลายมากกว่าชื่ออื่นๆ คือชื่อ กวนซีอิมนักปราชญ์แปลชื่อนี้ไว้ต่างกันว่า “ท่านผู้สอดส่งเสียงของชาวโลก” “ท่านผู้เพ่งเห็นเสียงของโลก” “ท่านผู้สดับเสียงสวดมนต์ของโลก” “ท่านผู้สดับเสียงคร่ำครวญของมนุษย์” เจ. เอดกิน แปลไว้ในหนังสือเรื่อง พระพุทธศาสนาแบบจีนของเขาว่า “กวน(ผู้มองดู) ชี (เขตแดนของผู้ประสบภัย) อิม (ซึ่งเรียกร้องของผู้ประสบทุกข์มีระดับลงต่ำแตกต่างกัน) ดังนั้น ความทุกข์ยากที่มีอยู่ทั้งมวลและความพ้นทุกข์ที่ร่ำร้องหากันนั้น กระทบใจของพระโพธิสัตว์ผู้ทรงพระกรุณา”

แต่นักปราชญ์หลายท่านประกาศว่า กวน-ซี-อิม (กวนอิม) เป็นคำแปลที่ผิดพลาดจากความหมายของอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต เพราะนักปราชญ์มีความเห็นว่า ผู้แปลที่เป็นชาวจีนเข้าใจในความหมายของสวร (เสียง) กับอีศวร (ความเป็นใหญ่) ไม่ถูกต้องจึงใช้คำว่า “สวร” (เสียง) แทนคำว่า “อีศวร” ซึ่งอีกชื่อหนึ่งของท่านคือ “กวน-จือ-จ๋าย” (เพ่งเห็นโดยอิสระ)ปรากฏครั้งแรกในนิพนธ์ของท่านเฮี้ยนจัง ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒

คัดย่อข้อมูลจาก : หนังสือพิธีสถาปนาครบรอบ ๖๐ ปี มูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post