Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง (ไฉ่ซิ่งเอี้ย) 财神爷

โซนที่ ๙ มหายาน

เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง (ไฉ่ซิ่งเอี้ย) 财神爷

๑๔

เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง (ไฉ่ซิ่งเอี้ย) 财神爷

เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย หรือ จ่ายสินเอี้ย เป็นเทพเจ้าชื่อดังของจีนที่เลื่องลือในเรื่องของการให้พรความร่ำรวย มีโชคลาภ ความเจริญรุ่งเรือง ประสบผลสำเร็จตามที่หวังไว้แก่ผู้ที่เซ่นไหว้ ซึ่งเทพเจ้าแห่งโชคลาภคือองค์ท้าวเวสสุวรรณนั่นเอง แต่ชาวจีนจะบูชาเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยหรือเทพเจ้าโชคลาภมากกว่า

 

ความเชื่อเรื่องไฉ่ซิ้งของจีนมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามยุคตามถิ่น มีมากมายหลายองค์หลายประเภท ที่มาจึงซับซ้อน ไม่ชัดเจน หนังสือประชุมอรรถาธิบาย อธิบายเรื่องไฉ่ซิ้งไว้สั้นๆ ว่า “ไฉ่ซิ้งที่ผู้คนเซ่นไหว้นั้นบ้างก็ว่าเป็นอิสลามที่เซ่นไหว้กันทางภาคเหนือ บ้างก็ว่าเป็นคนจีนชื่อเจ้าหลัง บ้างก็ว่าเป็นคนสมัยราชวงศ์หยวนชื่อเหออู่ลู่ บ้างก็ว่าได้แก่ ลูกชาย 5 คนของกู้ซีเฝิงคนยุคราชวงศ์เฉิน แตกต่างกันไป ตามความเชื่อของตน เรียกรวมๆ ว่าไฉ่ซิ้ง ไม่แน่ชัดว่าคือใคร”

 

หนังสือหลากเรื่องวัฒนธรรมผีสางเทวดาของจีน อธิบายว่าไฉ่ซิ้งมีที่มาจากเทพแห่งทางเดิน ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าเทพสำคัญของจีนโบราณ เดิมทีคนเซ่นไหว้เทพองค์นี้เพื่อให้อำนวยสวัสดิภาพในการเดินทาง จีนเป็นสังคมเกษตรคนอยู่ติดที่ พวกที่เดินทางมากคือพ่อค้าเร่และสัญจรชน ผู้ต้องเดินทางทำมาหากิน เช่น ศิลปินเร่ คนพวกนี้เมื่อเดินทางก็จะมีรายได้ จุดประสงค์ในการเซ่นไหว้เทพแห่งทางเดินจึงเพิ่มเรื่องขอให้มีรายได้ดีอีกด้วย นานวันเข้ากลายเป็นจุดประสงค์หลัก เทพแห่งทางเดินก็ค่อยๆ กลายเป็นเทพแห่ง

ทรัพย์สิน เพราะคนส่วนมากเดินทางเพื่อทำมาหากิน เทพแห่งทางเดินจึงเสื่อมสูญไป

 

พวกที่ต้องเดินทางทำมาหากินนั้น พวกพ่อค้าเกี่ยวข้องกับเงินทองมากที่สุด การค้าที่ทำรายได้ดีคือการค้าข้ามถิ่น นำสินค้าถิ่นหนึ่งไปขายอีกถิ่นหนึ่งเส้นทางที่ทำรายได้ดีที่สุดคือเส้นทางสายไหม ซึ่งคู่ค้าส่วนมากเป็นรัฐอิสลาม จึงมีความเชื่อหนึ่งว่า ไฉ่ซิ้งเป็นมุสลิม แต่ก็ไม่ปรากฏชัดเจนว่าคือใคร ไฉ่ซิ้งต่างยุคต่างถิ่นก็ต่างองค์กัน

แรกทีเดียวไฉ่ซิ้งเป็นเทพของพวกที่มีอาชีพเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ คือ พ่อค้า โรงรับจำนำ สัญจรชนผู้ต้องเดินทางประกอบอาชีพ และนักเล่นการพนัน ต่อมาก็แพร่ไปสู่คนกลุ่มอื่น พวกขุนนางก็ต้องการความมั่งคั่งก้าวหน้าในราชการ ไฉ่ซิ้งจึงแยกออกเป็นฝ่ายบุ๋น (พลเรือน) กับบู๊ (นักรบ) พวกขุนนางนิยมไหว้ไฉ่ซิ้งบุ๋น พวกพ่อค้านิยมไหว้ไฉ่ซิ้งบู๊ เพราะต้องการให้คุ้มครองการเดินทางค้าขายและทรัพย์สินของตนด้วย

 

บทบาทสำคัญของไฉ่ซิ้งจึงมีทั้งช่วยให้กิจการรุ่งเรืองมีทรัพย์มาก และช่วยคุ้มครองรักษาทรัพย์สินให้พ้นจากผองภัยด้วย เป็นเหตุให้เทพแห่งทรัพย์สินฝ่ายบู๊มีความสำคัญเหนือฝ่ายบุ๋น นอกจากนี้ยังเกิดเทพแห่งทรัพย์สินประเภทต่างๆ ตามความต้องการเฉพาะด้านของผู้เซ่นไหว้อีก เช่น เทพแห่งลาภลอย ความเชื่อเรื่องเทพแห่งทรัพย์สินหรือไฉ่ซิ้งจึงสะท้อนภาพสังคมและความต้องการของผู้คนในสังคมได้ดีอีกด้วย

 

สาเหตุที่คนจีนสร้างความเชื่อเรื่องไฉ่ซิ้งขึ้นนั้น หลิวฮั่นเจี๋ยเขียนไว้ในหนังสือเล่าเรื่องไฉ่ซิ้ง ว่า ความร่ำรวยมีเงินทอง เป็นความต้องการสำคัญประการหนึ่งของมนุษย์ ผู้คนจึงทุ่มเททำมาหากิน ดังมีคำกล่าวในภาษาจีนว่า “ใต้ฟ้าอันสับสนล้วนมาเพื่อผลประโยชน์ ใต้ฟ้าอันชุลมุน ล้วนวุ่นไปเพื่อผลประโยชน์” และ “นกตายเพราะกิน คนตายเพราะสินทรัพย์” ความต้องการร่ำรวยมีเงินทองมาก เป็นแรงขับให้มนุษย์สร้างเทพแห่งทรัพย์สิน

แหล่งที่มา : https://www.silpa-mag.com/culture/article_40683

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post