Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมอันสงัดเงียบ ทรงพอพระทัยประทับบำเพ็ญเพียรที่นั่น

โซนที่ ๑ พระพุทธเจ้า
ระเบียงภาพพุทธประวัติ ๘๐ ภาพ (ครูเหม เวชกร)

เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมอันสงัดเงียบ ทรงพอพระทัยประทับบำเพ็ญเพียรที่นั่น

ภาพที่ ๒๐

เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมอันสงัดเงียบ ทรงพอพระทัยประทับบำเพ็ญเพียรที่นั่น

พระมหาบุรุษทรงอำลาท่านคณาจารย์ทั้งสองแล้วออกจากที่นั่น แล้วเสด็จจาริก แสวงหาที่สำหรับทรงบำเพ็ญเพียร  เพื่อทดลองทุกกรกิริยาที่คนสมัยนั้นนิยมทำกัน ดังกล่าว แล้วเสด็จไปถึงตำบลแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในเขตแขวงมคธเหมือนกัน มีนามว่า 'อุรุเวลาเสนานิคม' อุรุเวลา แปลว่า กองทราย เสนานิคม แปลว่า ตำบล หมู่บ้าน พื้นที่ตำบลแห่งนี้เป็นที่ราบรื่นมีแนวป่าเขียวสด เป็นที่น่าเบิกบานใจ มีแม่น้ำเนรัญ- ชรา น้ำไหลใสสะอาด มีท่าสำหรับลงอาบ มีหมู่บ้านตั้งอยู่โดยรอบ ไม่ใกล้เกินไป และ ไม่ไกลเกินไป เหมาะสำหรับเป็นที่อาศัยเที่ยวบิณฑบาตของนักบวชบำเพ็ญพรต  

อุรุเวลาเสนานิคม ถ้าจะเรียกอย่างไทยเราก็คงจะเรียกได้ว่า 'หมู่บ้านกองทราย' หรือหมู่บ้านทรายงาม อะไรอย่างนั้น คัมภีร์อรรถกถาชื่อ 'สมันตปสาทิกา' เล่ม ๓ ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดีย สมัยหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้วเป็นผู้แต่ง ได้ เล่าประวัติของกองทรายที่ตำบลนี้ไว้ว่า ในอดีตสมัย ที่นี่เคยเป็นที่บำเพ็ญเพียรของ พวกนักพรตจำนวนมาก นักพรตที่มาตั้งอยู่ที่นี่ตั้งระเบียบข้อบังคับ ปกครองกันเองไว้ ว่า ความผิดของคนที่แสดงออกทางกายและวาจานั้นพอมองเห็นได้ ส่วนทางใจไม่มี ใครมองเห็นเลย ใครจะคิดผิดคิดชั่วอย่างไรก็มองไม่เห็น ลงโทษว่ากล่าวกันก็ไม่ได้  เพราะฉะนั้น ถ้าใครเกิดคิดชั่ว เช่น เกิดอารมณ์ความใคร่ขึ้นมาเมื่อใดละก็ ขอให้ผู้นั้น ลงโทษตัวเอง โดยวิธีนำบาตรไปตักเอาทรายมาเทกองไว้ หนึ่งคนหนึ่งครั้ง ครั้งละ หนึ่งบาตร เป็นการประจานตัวเองให้คนอื่นรู้ ด้วยเหตุนี้ ภูเขากองทราย หรืออุรุเวลา ซึ่งเสมือนหนึ่งอนุสรณ์แห่งกองกิเลสของพระฤาษีเก่าก่อน จึงเกิดขึ้น สมัยพระพุทธเจ้า บริเวณตำบลบ้านแห่งนี้ยังเรียกว่า 'อุรุเวลาเสนานิคม' แต่มาสมัยหลัง กระทั่งทุกวันนี้เรียกบริเวณตำบลแห่งนี้ว่า 'พุทธคยา' ซึ่งปัจจุบันวัดไทยพุทธคยาก็ตั้งอยู่ที่นั่น พระมหาบุรุษทรงเลือกตำบลนี้เป็นที่บำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นบททดลองอีกบทหนึ่งว่าจะ เป็นทางตรัสรู้หรือไม่

ดูกรภารทวาชะ เรานั้นเป็นผู้แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาสันติวรบท อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่าอยู่ จึงเที่ยว จาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ บรรลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม. ณ ที่นั้น เราได้เห็นภูมิภาคน่ารื่นรมย์ มีไพรสณฑ์ น่าเลื่อมใส มีแม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ มีโคจรคามโดยรอบ. เรานั้นมีความคิดเห็น ว่า ภูมิภาคน่ารื่นรมย์หนอ ไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส แม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท มีท่าราบเรียบน่ารื่นรมย์ ทั้งโคจร- คามมีอยู่ โดยรอบ สถานที่นี้สมควรเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความเพียรหนอ. เราจึงนั่งอยู่ ณ ที่ นั้นเอง ด้วยคิดเห็นว่า สถานที่นี้สมควรเป็นที่ทำความเพียร.

ม.ม. ๑๓/๗๔๐/๕๐๙

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post